Skip to Content

เกณฑ์การรับรู้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการรับรู้รายได้จากค่าตอบแทนการใช้ที่ดิน

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการรับรู้รายได้จากค่าตอบแทนการใช้ที่ดิน


ข้อเท็จจริง

บริษัท อ. (บริษัทฯ) ได้จดทะเบียนให้ที่ดินของบริษัทฯ ตกอยู่ในภาระจำยอมเรื่องทางเดิน ทางรถยนต์ และ สาธารณูปโภคอื่นๆ เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโครงการบ้านจัดสรรบริษัท พ. (เจ้าของโครงการ) ซึ่งเจ้าของโครงการ ตกลงจ่ายค่าตอบแทนการได้ใช้ที่ดินให้แก่บริษัทฯ ทั้งจำนวนในคราวเดียวเมื่อบริษัทฯ ได้จดทะเบียนภาระจำยอมต่อ กรมที่ดิน บริษัทฯ เห็นว่า การอนุญาตให้ใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ข้างต้น ถือเป็นการให้บริการระยะยาว เนื่องจาก บริษัทฯ สามารถหาประโยชน์อันมีมูลค่าเป็นตัวเงินในที่ดินของบริษัทฯ ได้โดยที่ไม่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่เจ้าของ โครงการ และเมื่อได้รับค่าตอบแทนการใช้ที่ดินแล้วต้องยินยอมให้เจ้าของโครงการและเจ้าของที่ดินในโครงการบ้าน จัดสรรใช้ที่ดินของบริษัทฯ เป็นทางผ่านเข้าออกและวางระบบสาธารณูปโภคต่างๆ โดยไม่มีกำหนดระยะเวลา จึงขอ ทราบว่า บริษัทฯ ให้บริการดังกล่าวซึ่งมีกำหนดระยะเวลาเกินกว่าสิบปี จะสามารถทยอยรับรู้รายได้ค่าบริการดังกล่าว ได้เพียงสิบรอบระยะเวลาบัญชีตามเกณฑ์สิทธิ โดยให้เฉลี่ยรับรู้รายได้ตามส่วนแห่งจำนวนปีตามสัญญา เพื่อนำมารวม คำนวณเป็นรายได้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตามสัญญา แต่ไม่เกินสิบรอบระยะเวลาบัญชีนับแต่รอบระยะเวลาบัญชี ที่ได้เริ่มให้บริการตามข้อ 3.8 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.1/2528 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และ รายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2528 ใช่หรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร

แนววินิจฉัย

ค่าตอบแทนจากการใช้ทางภาระจำยอมที่บริษัทฯ ได้รับ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่ง ประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ต้องนำค่าตอบแทนที่ได้รับดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.1/2528ฯ ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2528




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0702/5855 ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2552

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)