เกณฑ์การรับรู้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการรับรู้ดอกเบี้ยรับและดอกเบี้ยจ่ายจากตราสารแสดงสิทธิในหนี้
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการรับรู้ดอกเบี้ยรับและดอกเบี้ยจ่ายจากตราสารแสดงสิทธิในหนี้ข้อเท็จจริง1. กรณีธนาคารฯ ซื้อพันธบัตร หุ้นกู้ หรือตั๋วเงินในมูลค่าที่ต่ำกว่าราคาตามหน้าตราสาร การรับรู้ รายได้ดอกเบี้ยเพื่อคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ธนาคารฯ จะต้องรับรู้เป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชี ที่ตราสารนั้น ถึงกำหนดชำระดอกเบี้ย หรือธนาคารฯ จะต้องทยอยรับรู้เป็นรายได้ในแต่ละรอบระยะเวลา บัญชีตามอายุของตราสารดังกล่าว เช่นเดียวกับการรับรู้รายได้ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป 2. กรณีธนาคารฯ กู้ยืมเงินด้วยการขายหุ้นกู้หรือตั๋วเงินในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าหน้าตราสาร (Zero Coupon Bond/Bill) ธนาคารฯ จะต้องนำดอกเบี้ยที่จ่าย มาบันทึกเป็นรายจ่ายเพื่อการคำนวณ ภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่ตราสารนั้น ถึงกำหนดชำระตามเกณฑ์สิทธิ์ ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร หรือธนาคารฯ จะต้องทยอยรับรู้เป็นรายจ่ายในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตามอายุ ของตราสารดังกล่าว เช่นเดียวกับการรับรู้รายจ่ายตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร และคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.1/2528ฯแนววินิจฉัยการรับรู้รายได้หรือรายจ่ายเพื่อประโยชน์ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับดอกเบี้ยที่ ธนาคารฯ จะได้รับมาหรือที่จะต้องจ่ายไปจากการให้กู้ยืมเงินหรือจากการกู้ยืมเงิน ธนาคารฯ จะต้องถือ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์สิทธิ์ โดยต้องนำดอกเบี้ยมาบันทึกเป็นรายได้หรือรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชี ที่ดอกเบี้ยถึงกำหนดชำระ เว้นแต่รายได้ส่วนที่เป็นดอกเบี้ยสำหรับระยะเวลาหลังจากที่ได้ผิดนัดชำระ ติดต่อกันเป็นเวลาเกินสามเดือน ธนาคารฯ จะนำดอกเบี้ยส่วนนั้นมาคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลา บัญชีที่ได้รับชำระก็ได้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.1/2528 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิ์ในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2528 ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0702/1536 ลงวันที่ 11 เมษายน 2551 |