Skip to Content

เกณฑ์การรับรู้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการบันทึกบัญชีสำหรับข้อผูกพันตามสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการบันทึกบัญชีสำหรับข้อผูกพันตามสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า


ข้อเท็จจริง

บริษัท ก. จำกัด (มหาชน) ซึ่งประกอบธุรกิจเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในระบบ

Cellular 900 และ Digital GSM ได้ทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศ โดยมีการกำหนด

อัตราแลกเปลี่ยนที่แน่นอน เนื่องจากบริษัทฯ มีรายได้เป็นเงินบาท ทั้งนี้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการ

เปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนในอนาคต บริษัทฯ จึงได้เปลี่ยนเงินกู้ที่เป็นเงินสกุลต่างประเทศเป็น

เงินบาท โดยการทำ Currency Swap กับสถาบันการเงิน หรือ Investment Banking ใน

ต่างประเทศ 3 แห่ง ได้แก่

1. A. ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำที่ประกอบกิจการ Investment Banking ระหว่าง

ประเทศแห่งหนึ่ง มีธุรกรรมหลักให้บริการแก่ลูกค้าทั่วโลก ในด้านการรับประกัน จัดจำหน่าย และการค้า

หลักทรัพย์ทั้งของภาครัฐและเอกชน การซื้อขายเงินตราต่างประเทศ และตราสารอนุพันธ์ ที่ปรึกษาทาง

การเงิน การควบ และการโอนกิจการ เป็นต้น

2. B. เป็นบริษัทในเครือของ J.P.Morgan ซึ่งเป็นสถาบันการเงินชั้นนำระหว่าง

ประเทศอีกแห่งหนึ่ง ที่มีธุรกิจเกี่ยวข้องในด้านการเงินต่าง ๆ เช่น ให้บริการซื้อขายเงินตรา

ต่างประเทศ สินค้าการเกษตรล่วงหน้า ที่ปรึกษาด้านการลงทุนในตลาดตราสารต่าง ๆ ที่ปรึกษาด้าน

การลงทุน ฯลฯ

3. C. เป็นสถาบันการเงินประเภท Investment Banking ซึ่ง Sumitomo

Bank เป็นเจ้าของทุนทั้งหมด ประกอบกิจการให้บริการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า โดยมี

Sumitomo Bank เป็นผู้ให้ประกัน

ทั้ง 3 บริษัทเป็นบริษัทจดทะเบียนในต่างประเทศ และเป็นสถาบันการเงินชั้นนำ

ระหว่างประเทศของโลก โดยเฉพาะในด้านธุรกิจการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ซึ่งจะมีลูกค้าทั่วโลก

เป็นจำนวนมากที่ใช้บริการ

การที่บริษัทฯ ได้ทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศ กับสถาบันการเงินทั้ง 3 แห่งข้างต้น

จะอยู่ในข่ายที่ถือได้ว่า เป็นการทำสัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศกับคู่สัญญาที่เป็นธนาคารพาณิชย์

ตามข้อ 1 (1) ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.68/2541 หรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.68/2541

แนววินิจฉัย

กรมสรรพากรได้กำหนดแนวทางปฏิบัติ กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งมีความ

ประสงค์จะนำข้อผูกพันตามสัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้ามาบันทึกบัญชี ณ วันทำสัญญาซื้อ

หรือขายเงินตราต่างประเทศได้ ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.68/2541 เรื่อง ข้อผูกพันตามสัญญาซื้อ

หรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า ลงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2541 ข้อ 1 (1) และข้อกำหนด

ดังกล่าวเป็นหลักการซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือป้องกันมิให้การซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศ

ล่วงหน้าในลักษณะการเก็งกำไร โดยการซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศนั้นต้องมีความเสี่ยงเกิดขึ้นจริง

และต้องทำการป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นนั้นไว้กับธนาคารพาณิชย์ ไม่ว่าจะมีสถานประกอบการใน

ประเทศไทยหรือไม่ กรณีที่คู่สัญญามีสถานประกอบการในต่างประเทศ จะต้องมีลักษณะเป็นสถาบันการเงิน

ในลักษณะเดียวกับธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันมิให้เกิดความ

คลาดเคลื่อนและเกิดปัญหาในการพิจารณา หากกรณีที่คู่สัญญาเป็นสถาบันการเงินต่างประเทศ

กรมสรรพากรจะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป

กรณีตามข้อเท็จจริง บริษัท ก. จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีหนี้ต่างประเทศจำนวนสูง และได้ทำ

สัญญาป้องกันความเสี่ยงในลักษณะ Currency Swap หรือ Swap Transaction กับสถาบันการเงินใน

ต่างประเทศ 3 แห่ง คือ A., B. และ C. ซึ่งสถาบันการเงินดังกล่าว มีฐานะเป็นวาณิชธนกิจ หรือ

Investment Bank ดังนั้นบริษัทฯ มีสิทธิที่จะเลือกปฏิบัติตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.68/2541 เรื่อง

ข้อผูกพันตามสัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า ลงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2541 เพื่อ

การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/07026 ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2541

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)