Skip to Content

เกณฑ์การรับรู้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการบันทึกบัญชีรับรู้ดอกเบี้ยค้างรับเป็นรายได้ของสินเชื่อบุคคล

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการบันทึกบัญชีรับรู้ดอกเบี้ยค้างรับเป็นรายได้ของสินเชื่อบุคคล


ข้อเท็จจริง

บริษัท บ. ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการให้สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่ออื่น ๆ โดยในอนาคตอัน

ใกล้นี้บริษัทฯ จะประกอบธุรกิจสินเชื่อบุคคล (Personal Loan) ซึ่งเป็นการให้สินเชื่ออีกรูปแบบหนึ่งที่

ทำเป็นสัญญาแยกต่างหากจากการให้สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่ออื่น ๆ ในการประกอบธุรกิจสินเชื่อ

บุคคล บริษัทฯ จะมีรายได้ส่วนที่เป็นดอกเบี้ยและรายได้ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินซึ่งมีวิธีคำนวณ

เช่นเดียวกับดอกเบี้ย บริษัทฯ จึงขอให้กรมสรรพากรพิจารณาอนุมัติให้การบันทึกบัญชีรับรู้ดอกเบี้ยค้างรับ

เป็นรายได้ของธุรกิจสินเชื่อบุคคลสามารถหยุดรับรู้รายได้ส่วนที่เป็นดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมที่มีลักษณะ

เช่นเดียวกับดอกเบี้ยสำหรับระยะเวลาหลังจากที่ลูกหนี้ได้ผิดนัดชำระหนี้ติดต่อกันเป็นเวลาเกินหกเดือนได้


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.1/2528 ฯ, คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.108/2545 ฯ

แนววินิจฉัย

การประกอบธุรกิจสินเชื่อบุคคลตามข้อเท็จจริงข้างต้นเป็นกิจการอื่นทำนองเดียวกันกับกิจการ

ธุรกิจบัตรเครดิต ดังนั้น ในการประกอบธุรกิจสินเชื่อบุคคล บริษัทฯ สามารถคำนวณรายได้ส่วนที่เป็น

ดอกเบี้ยสำหรับระยะเวลาหลังจากที่ได้ผิดนัดชำระติดต่อกันเป็นเวลาเกินหกเดือน โดยจะนำดอกเบี้ยส่วน

นั้นมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับชำระก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ในข้อ 4.1

วรรคสอง ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.1/2528 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และ

รายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย

คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.108/2545 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของ

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2545




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/ก.00228 ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2546

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)