Skip to Content

เกณฑ์การรับรู้ ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการรับรู้รายได้จากการรับจ้างผลิต

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการรับรู้รายได้จากการรับจ้างผลิต


ข้อเท็จจริง

บริษัทฯ ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมเขตส่งออก (EPZ) ประกอบกิจการรับจ้างผลิตกระเป๋าตาม

คำสั่งของผู้ว่าจ้างในประเทศไต้หวัน โดยวัตถุดิบหลักในการผลิต เช่น ผ้าที่ใช้ในการผลิตกระเป๋า

ผู้ว่าจ้างจากประเทศไต้หวันจะเป็นผู้จัดส่งมาให้ และเมื่อผลิตเป็นสินค้าเสร็จแล้ว บริษัทฯ จะจัดส่งสินค้า

ไปให้ลูกค้าของผู้ว่าจ้างที่ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยตรง และลูกค้าที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะจ่ายเงิน

ดังกล่าวไปให้ผู้ว่าจ้างที่ประเทศไต้หวัน โดยบริษัทฯ จะได้รับเงินค่าจ้างตามอัตราร้อยละ 20 ถึง 30

ของมูลค่าส่งออกตามใบขนสินค้าจากผู้ว่าจ้างประเทศไต้หวัน และในกรณีที่บริษัทฯ รับจ้างผลิตสินค้าไม่ทัน

บริษัทฯ จึงส่งมอบวัตถุดิบในการผลิตกระเป๋าที่ได้รับจากผู้ว่าจ้างประเทศไต้หวัน ให้แก่บริษัทในประเทศ

เป็นผู้รับจ้างช่วงในการผลิตสินค้า เมื่อผลิตเสร็จก็จะส่งคืนให้บริษัทฯ แล้วบริษัทฯ ส่งออกสินค้าไปให้

ลูกค้าของผู้ว่าจ้างที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จากกรณีดังกล่าว

บริษัทฯ ได้หารือดังนี้

1. การที่บริษัทฯ ส่งออกสินค้าที่บริษัทฯ รับจ้างผลิตไปให้ลูกค้าของผู้ว่าจ้างในต่างประเทศ

ถือเป็นการขายสินค้าที่จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มถูกต้องหรือไม่

2. กรณีบริษัทฯ ส่งออกสินค้าที่รับจ้างผลิต บริษัทฯ จะรับรู้รายได้จากการรับจ้างดังกล่าว

เมื่อบริษัทฯ ได้ออกใบขนสินค้า และผ่านพิธีการของกรมศุลกากร ถูกต้องหรือไม่

3. การส่งวัตถุดิบในการผลิตสินค้าไปให้ผู้รับจ้างช่วงในการผลิตดังกล่าว จะต้องหัก

ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3 ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้

ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่

26 กันยายน พ.ศ. 2528 หรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 77/1(8)(ค), มาตรา 77/1(14)

แนววินิจฉัย

1. กรณีตาม 1. การที่ผู้ว่าจ้างในต่างประเทศว่าจ้างให้บริษัทผลิตสินค้า โดยผู้ว่าจ้างจัดหา

วัตถุดิบในการผลิตมาให้ เมื่อบริษัทฯ ผลิตเสร็จแล้ว บริษัทฯ ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ ลูกค้าของผู้ว่าจ้างใน

ต่างประเทศ โดยยื่นใบขนสินค้าขาออกในนามของบริษัทฯ เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าโดยส่งออกตาม

มาตรา 77/1(8)(ค) และมาตรา 77/1(14) แห่งประมวลรัษฎากร

2. กรณีตาม 2. การที่บริษัทฯ รับจ้างผลิตกระเป๋าตามคำสั่งของผู้ว่าจ้างในประเทศไต้หวัน

โดยผู้ว่าจ้างจัดหาวัตถุดิบในการผลิตมาให้ แล้วส่งออกสินค้าที่รับจ้างผลิตให้แก่ลูกค้าของผู้ว่าจ้างใน

ต่างประเทศ บริษัทฯ จะต้องใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยนำรายได้ตามส่วนของ

งานที่ทำเสร็จในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตามข้อ 4.6

ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.1/2528 ฯ ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2528

3. กรณีตาม 3. การที่บริษัทฯ ส่งวัตถุดิบไปให้ผู้รับจ้างช่วงในประเทศไทยให้ผลิตสินค้าให้

บริษัทฯ เพื่อส่งออกให้แก่ผู้ว่าจ้างในต่างประเทศ ถือว่าผู้รับจ้างช่วงดังกล่าวเป็นผู้รับจ้างทำของ เมื่อ

บริษัทฯ จ่ายค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้างช่วง บริษัทฯ จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3 ตามข้อ

8 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2528




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/2575 ลงวันที่ 17 มีนาคม 2546

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)