Skip to Content

เกณฑ์การรับรู้ ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีการรับรู้รายได้และการคำนวณรายรับ

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีการรับรู้รายได้และการคำนวณรายรับ


ข้อเท็จจริง

บริษัทฯ ประกอบกิจการผลิตและส่งออกรองเท้ากีฬา ได้ให้บริษัทในเครือกู้ยืมเงิน

เยี่ยงธนาคารพาณิชย์โดยคิดดอกเบี้ยตามอัตราปกติทางการค้าทั่ว ๆ ไป และบันทึกบัญชีตามเกณฑ์สิทธิ

ตามมาตรา 65 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.

1/2528 ฯ ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2528 และได้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามเกณฑ์สิทธิดังกล่าวเป็น

ประจำทุกเดือน เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจทำให้บริษัทในเครือที่กู้ยืมเงินบางบริษัท ไม่สามารถชำระหนี้

ดอกเบี้ยได้ บริษัทฯ จึงหารือว่า

(1) บริษัทฯ จะไม่คิดดอกเบี้ย หรือจะคิดดอกเบี้ยในอัตราที่สรรพากรยอมรับจากเงินที่

บริษัทในเครือกู้ยืมได้หรือไม่อย่างไร

(2) บริษัทฯ เสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และการปฏิบัติทางบัญชีตาม

เกณฑ์สิทธิมาตลอด โดยบริษัทฯ มิได้รับชำระดอกเบี้ยเต็มจำนวน ฉะนั้น บริษัทฯ จะเปลี่ยนแปลงเกณฑ์

สิทธิและวิธีการทางบัญชี กรณีดังกล่าวต่อไปนี้ได้หรือไม่อย่างไร

ก. เปลี่ยนแปลงเกณฑ์สิทธิและวิธีการทางบัญชีมาเป็นเกณฑ์เงินสดเฉพาะ

ดอกเบี้ยรับ จากการประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล

ข. เปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณรายรับที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะ

จากดอกเบี้ยรับจากเกณฑ์สิทธิมาเป็นเกณฑ์เงินสด


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 65 วรรคสอง, มาตรา 91/2(5), คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.26/25434ฯ

แนววินิจฉัย

(1) กรณีบริษัทในเครือตามความหมายข้อ 2 แห่งคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.26/2534ฯ

ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ให้กู้ยืมเงินตามข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่ว่าจะนำเงินของตนหรือนำ

เงินที่กู้ยืมจากบุคคลอื่นมาให้กู้ยืมในระหว่างกันเอง และไม่ว่าจะคิดดอกเบี้ยในอัตราเท่าใดก็ตาม

ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมเงินในกรณีเช่นนี้ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นรายรับเพื่อเสีย

ภาษีธุรกิจเฉพาะ สำหรับการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ตามมาตรา 91/2(5) แห่ง

ประมวลรัษฎากร แต่หากบริษัทในเครือมิได้มีความหมายดังที่กล่าวข้างต้น การให้กู้ยืมเงินโดยไม่คิด

ดอกเบี้ยหรือคิดดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนด

ดอกเบี้ยตามราคาตลาดได้ ตามมาตรา 91/16 (6) แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับกรณี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล การให้กู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ยหรือคิดดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาด

โดยไม่มีเหตุอันสมควรเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจ ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ที่

จะประเมินดอกเบี้ยตามราคาตลาดในวันที่ให้กู้ยืมได้

(2) กรณีบริษัทฯ จะเปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตาม

เกณฑ์สิทธิมาเป็นการคำนวณตามเกณฑ์เงินสด บริษัทฯ จะต้องขออนุมัติเปลี่ยนแปลงต่ออธิบดีกรมสรรพากร

ตามมาตรา 91/8 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับการบันทึกรับรู้รายได้ทางบัญชีนั้น บริษัทฯ

มีสิทธิบันทึกรับรู้รายได้ตามหลักเกณฑ์บัญชีที่รับรองโดยทั่วไปวิธีใดก็ได้ แต่ในการรับรู้รายได้เพื่อประโยชน์

ในการคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น บริษัทฯ จะต้องบันทึกรับรู้รายได้ตามเกณฑ์สิทธิ กล่าวคือ

บริษัทฯ จะต้องนำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้ว่าจะยังมิได้รับชำระใน

รอบระยะเวลาบัญชีนั้น มารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และให้นำรายจ่ายทั้งสิ้นที่

เกี่ยวกับรายได้นั้น แม้จะยังมิได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น มารวมคำนวณเป็นรายจ่ายของ

รอบระยะเวลาบัญชีนั้น ตามมาตรา 65 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811(กม.02)/1062 ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2543

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)