Skip to Content

อื่นๆ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีผลตอบแทนจากการให้สินเชื่อ

เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีผลตอบแทนจากการให้สินเชื่อ


ข้อเท็จจริง

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยมีฐานะเป็นนิติบุคคล จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธนาคาร

อิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 เป็นรูปแบบของธนาคารเฉพาะกิจ โดยดำเนินธุรกิจให้สินเชื่อไม่

ขัดกับหลักศาสนาแก่บุคคลและนิติบุคคลทั่วไป คิดผลตอบแทนในรูปกำไร เนื่องจากผลตอบแทนของธนาคาร

เรียกไม่เหมือนธนาคารพาณิชย์ทั่วไป ธนาคารฯ จึงขอหารือปัญหาภาษีอากร ดังนี้

1. บริการสินเชื่อที่ธนาคารฯ ให้แก่ลูกค้าตามหลัก BBA เพื่อการซื้อและก่อสร้างที่อยู่อาศัย

โดยการให้สินเชื่อดังกล่าวมีการทำสัญญาซึ่งเรียกว่าสัญญาอำนวยสินเชื่อ และคิดผลตอบแทนจากการให้

สินเชื่อเรียกว่าผลกำไร (ไม่เรียกว่าดอกเบี้ย) รวมทั้งมีการบันทึกบัญชีรับ/จ่ายสินเชื่อเป็นเงินสด และ

ออกใบเสร็จรับเงินกับหนังสือรับรองระบุเป็นเงินต้น ....... บาท ผลตอบแทน ....... บาท

ธนาคารฯ หารือว่า การคิดผลตอบแทนจากการให้สินเชื่อดังกล่าวเกิดความไม่ชัดเจนว่า ผู้ขอสินเชื่อที่

เป็นบุคคลธรรมดานั้น สามารถนำผลตอบแทน (ผลกำไร) ที่ธนาคารคิดไปใช้ขอลดหย่อนในการคำนวณ

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้หรือไม่

2. การให้สินเชื่อ การเช่าซื้อสังหาริมทรัพย์ การเช่าสังหาริมทรัพย์ การขายเชื่อสินค้าและ

วัตถุดิบ ผู้ขอสินเชื่อเป็นนิติบุคคล มีการชำระเงินต้นพร้อมกำไรซึ่งเรียกว่าผลตอบแทนซึ่งไม่ได้ระบุว่าเป็น

ดอกเบี้ย นิติบุคคลดังกล่าวสามารถนำผลตอบแทนที่ทางธนาคารฯ คิดไปหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณ

กำไรสุทธิได้หรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 47(1) (ซ) และมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร

แนววินิจฉัย

1. กรณีธนาคารฯ ให้บริการสินเชื่อแก่ลูกค้าเพื่อการซื้อและก่อสร้างที่อยู่อาศัย และธนาคารฯ

คิดผลตอบแทนจากการให้สินเชื่อเรียกว่าผลกำไร ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ลูกค้าของ

ธนาคารฯ มีสิทธินำผลกำไรดังกล่าวมาหักลดหย่อนและได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากเป็นไป

ตามหลักเกณฑ์ตามมาตรา 47(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 2(53) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่

126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 23

กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 226 (พ.ศ. 2543)ฯ ลงวันที่ 1

มกราคม พ.ศ. 2543

2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่ต้องเสีย

ภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร โดยต้องคำนวณกำไรสุทธิตามเงื่อนไขใน

มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร หากเงินผลตอบแทนที่บริษัทหรือ

ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จ่ายให้ธนาคารฯ ไม่เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี แห่ง

ประมวลรัษฎากร บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวมีสิทธินำรายจ่ายดังกล่าวไปถือเป็นรายจ่ายใน

การคำนวณกำไรสุทธิได้




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/6464 ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2547

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)