Skip to Content

ห้ามตีราคาทรัพย์สิน ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการแยกธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัยออกจากกัน

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการแยกธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัยออกจากกัน


ข้อเท็จจริง

กรณีบริษัทจำกัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการประกันภัยทั้งประกันชีวิตและประกันวินาศภัย

ซึ่งตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติประกันวินาศภัยพ.ศ.2535 กำหนดให้

บริษัทฯ จะต้องแยกธุรกิจทั้งสองออกจากกัน บริษัทฯ จึงได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัดขึ้นใหม่ในปี 2543

เพื่อรับโอนกิจการประกันวินาศภัยแยกออกไป (ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า“บริษัทประกันวินาศภัย) ส่วนบริษัท

ประกันภัยเดิมยังคงประกอบกิจการประกันชีวิตต่อไป (ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า “บริษัทประกันชีวิต”) ก่อน

การแยกธุรกิจบริษัทประกันภัยเดิมประกอบด้วยผู้ถือหุ้นเดิม ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด (ถือหุ้น 20%) และ

บุคคลธรรมดา (ถือหุ้นรวมกัน 80%) ซึ่งต่อมา (ปี 2543) เมื่อมีการแยกธุรกิจประกันชีวิตและ

ประกันวินาศภัยออกจากกัน กิจการประกันวินาศภัยถูกแยกออกไปจัดตั้งเป็นบริษัทใหม่ คือ บริษัท

ประกันวินาศภัย ซึ่งยังคงประกอบด้วยผู้ถือหุ้นชุดเดิมที่เป็นบริษัทจำกัด และบุคคลธรรมดา ตามอัตราส่วน

เดิมที่ถือในบริษัทประกันภัยเดิม

บริษัทฯ มีปัญหากฎหมายภาษีอากรที่เกี่ยวกับการแยกบริษัทประกันวินาศภัยออกไปจัดตั้งเป็น

บริษัทใหม่ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่

282) พ.ศ.2538 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 53)เรื่อง กำหนด

หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ กรณีเงินได้จากการโอนทรัพย์สินเพื่อแยกบริษัทที่ได้

รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต และบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยออกจาก

กัน ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2538 จึงหารือเกี่ยวกับประเด็นปัญหาภาษีเงินได้ของผู้ถือหุ้นเดิมซึ่งเป็น

บริษัทจำกัด และบุคคลธรรมดาดังกล่าวข้างต้น ที่เข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทประกันวินาศภัยที่แยกออกไป

ตั้งขึ้นใหม่ ดังนี้

1. กรณีผู้ถือหุ้นเดิมในบริษัทประกันภัยเดิมทั้งบริษัทจำกัดและบุคคลธรรมดาได้รับหุ้นสามัญใน

บริษัทประกันวินาศภัยที่จัดตั้งใหม่ในอัตราส่วนที่เท่ากับอัตราส่วนเดิมในบริษัทประกันภัยเดิม (คือ 20%

และ 80%) มูลค่าหุ้นสามัญที่จดทะเบียน (ราคาพาร์) ตามสัดส่วนเดิมของผู้ถือหุ้นเดิมที่ได้รับในบริษัท

ประกันวินาศภัยที่แยกไปตั้งใหม่ในปี 2543 (เท่ากับจำนวนกำไรสะสมที่ยังไม่จัดสรรของกิจการ

ประกันวินาศภัยของปีบัญชีก่อนปีบัญชีสุดท้าย (ปี 2541) ในบริษัทประกันภัยเดิมที่ยกมา) จะได้รับยกเว้น

ภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้วแต่กรณี ตามข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร

เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 53)ฯ ดังกล่าว ถูกต้องหรือไม่

2. มูลค่าหุ้นสามัญตามราคาพาร์ตามอัตราส่วนของผู้ถือหุ้นเดิมที่ได้รับมาในบริษัท

ประกันวินาศภัยที่ตั้งขึ้นใหม่ตาม 1. จะถือเป็นมูลค่าทรัพย์สินของผู้ถือหุ้นเดิม โดยจะถือเป็นราคาที่พึงซื้อ

ทรัพย์สินนั้นตามปกติตามมาตรา 65 ทวิ (3) แห่งประมวลรัษฎากร ในกรณีผู้ถือหุ้นเดิมเป็นบริษัทจำกัด

และถือเป็นมูลค่าเงินลงทุนของผู้ถือหุ้นเดิมในกรณีผู้ถือหุ้นเดิมเป็นบุคคลธรรมดาถูกต้องหรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 65 ทวิ (3), พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 282) พ.ศ. 2538, ประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 53)ฯ

แนววินิจฉัย

1. กรณีตาม 1. เมื่อผู้ถือหุ้นเดิมในบริษัทประกันภัยเดิมได้รับหุ้นสามัญในบริษัทประกันวินาศภัย

ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในอัตราส่วนที่เท่ากับอัตราส่วนในบริษัทประกันภัยเดิม มูลค่าของหุ้นสามัญที่ผู้ถือหุ้นเดิมได้รับ

ในบริษัทประกันวินาศภัยที่จัดตั้งขึ้นใหม่ดังกล่าว จึงได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และ

ภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วแต่กรณีตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 282) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร

เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 53)ฯ

2. กรณีตาม 2. มูลค่าของหุ้นสามัญที่ได้รับตาม 1. ให้ถือเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือราคาที่

พึงซื้อทรัพย์สินนั้นได้ตามปกติตามมาตรา 65 ทวิ (3) แห่งประมวลรัษฎากร ของผู้ถือหุ้นเดิม ในกรณีที่

ผู้ถือหุ้นเดิมเป็นบริษัทจำกัด และถือเป็นต้นทุนหรือมูลค่าเงินลงทุนในหุ้นสามัญของผู้ถือหุ้นเดิม ในกรณีที่

ผู้ถือหุ้นเดิมเป็นบุคคลธรรมดา




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/7267 ลงวันที่ 01 ธันวาคม 2543

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)