Skip to Content

หน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการเสียภาษีของกองทุนฯ

เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการเสียภาษีของกองทุนฯ


ข้อเท็จจริง

คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2550 ให้มีการจัดตั้งกองทุนฯ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดหาเงินทุนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า และคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2550 เห็นชอบกับแนวทางดังกล่าว โดยกองทุนฯ จะได้รับเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากการไฟฟ้าหรือโรงไฟฟ้า เพื่อนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ ตามระเบียบกองทุนฯ รวมทั้งนำเงินหรือทรัพย์สินไปหาประโยชน์อย่างอื่น ตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ กองทุนฯ ที่จัดตั้งขึ้นจะต้องเสียภาษีเงินได้หรือไม่ อย่างไร


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร

แนววินิจฉัย

ตามระเบียบคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการใช้จ่ายเงิน และการบริหารสินทรัพย์กองทุนฯ พ.ศ. 2551 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2552) ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 กำหนดว่า

ข้อ 17 เงินงบประมาณของโครงการใด หากใช้ไม่หมดให้นำไปรวมเป็นเงินงบประมาณคงเหลือ และสามารถนำไปเบิกจ่ายได้ตามปกติ

ข้อ 18 เงินที่ได้รับในปีงบประมาณใด ให้ถือเป็นรายได้ของปีงบประมาณนั้น หากไม่ได้ใช้หรือใช้ไม่หมดภายในปีงบประมาณให้ตกเป็นเงินสะสมของกองทุนฯ

ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า เงินได้ที่กองทุนฯ เรียกเก็บจากผู้ประกอบการโรงไฟฟ้า เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ เมื่อมีเงินเหลือกองทุนฯ ไม่ได้กำหนดให้มีการจ่ายคืนให้แก่โรงไฟฟ้า จึงถือไม่ได้ว่า กองทุนฯ ทำหน้าที่แทนกระทรวง ทบวง กรม ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 24/2536 เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการเสียภาษีเงินได้ของสำนักงาน หรือหน่วยงาน หรือกองทุนที่มิใช่นิติบุคคล หรือคณะกรรมการ ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยกระทรวง ทบวง กรม ลงวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2536 กองทุนฯ จึงมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0702/5570 ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2556

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)