Skip to Content

หน่วยภาษี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีการขายที่ดินซึ่งถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน

เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีการขายที่ดินซึ่งถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน


ข้อเท็จจริง

สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ แจ้งว่าได้รับโอนข้อมูลการขายอสังหาริมทรัพย์ราย นาง ก

กับพวกรวม 4 คน ซึ่งขายที่ดินจังหวัดปทุมธานี ราคาทุนทรัพย์ 44,734,000 บาท สำนักงานภาษี

สรรพากรพื้นที่ ได้ทำการไต่สวนตรวจสอบการเสียภาษีอากรของคณะบุคคลดังกล่าว ปรากฏว่า คณะบุคคล

ราย นาง ก กับพวก ได้ทำสัญญาซื้อที่ดินจากบุคคลอื่นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2534 โดยถือกรรมสิทธิ์ร่วม

กันเป็นส่วน ๆ คือ

นาง ก ถือกรรมสิทธิ์ 5,400.0 ส่วน

นาย ข ถือกรรมสิทธิ์ 2,834.5 ส่วน

นาง ค ถือกรรมสิทธิ์ 19,100.0 ส่วน

นาง ง ถือกรรมสิทธิ์ 17,400.0 ส่วน (ปัจจุบันถึงแก่กรรม)

ต่อมาคณะบุคคลดังกล่าวได้ทำสัญญาขายที่ดินดังกล่าวให้แก่ บริษัท เอ จำกัด และบริษัท บี จำกัด ไปเมื่อ

วันที่ 29 มิถุนายน 2535 เป็นเงิน 44,734,000 บาท และได้มีการแยกยื่นการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

ตามส่วนของตน ณ สำนักงานสรรพากรอำเภอ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2539 ดังนี้

นาง ก จำนวน 166,496 บาท

นาย ข จำนวน 317,192 บาท

นาง ค จำนวน 1,121,922 บาท

รวมทั้งสิ้น 1,605,610 บาท

นาง ก กับพวก ได้นำสำเนาแบบแสดงรายการ ภ.ธ.40 และสำเนาใบเสร็จรับเงินดังกล่าวไปมอบให้

เจ้าพนักงานประเมินเพื่อประกอบการพิจารณา และได้แจ้งว่านาง ง ถึงแก่กรรมแล้วจึงไม่ได้ยื่นรายการ

และเสียภาษีธุรกิจเฉพาะสำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ เห็นว่า การขายที่ดินดังกล่าวเข้าลักษณะเป็น

การขาย อสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามนัยมาตรา 81/2 (6)

แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับมาตรา 3 (6) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความใน

ประมวลรัษฎากรฯ (ฉบับที่ 244)พ.ศ. 2534 โดยต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในนามของคณะบุคคลฯ จึง

ขอทราบว่า ความเห็นของสำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ ถูกต้องหรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 81/2, พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534, มาตรา 291 และ มาตรา 1025

แนววินิจฉัย

1. ตามข้อเท็จจริง แม้จะได้มีการบรรยายส่วนการถือกรรมสิทธิ์ไว้ แต่หากไม่ได้

จดทะเบียนบรรยายถึงว่า ของใครอยู่ส่วนไหนเป็นจำนวนเนื้อที่เท่าใดชัดแจ้งแล้ว กรณีถือได้ว่าบุคคล

เหล่านั้นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม ตามมาตรา 1356 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประกอบกับ

เมื่อตามข้อเท็จจริง บุคคลทั้งหมดได้ที่ดินดังกล่าวมาพร้อมกันและได้ขายให้กับผู้ซื้อซึ่งเป็นบริษัทเดียวกันใน

เวลาพร้อมกันมิใช่แต่ละคนแบ่งแยกขายเฉพาะส่วนของตน กรณีถือได้ว่าบุคคลเหล่านั้นมีเจตนาร่วมลงทุน

ในการซื้อขายที่ดินแปลงดังกล่าว จึงต้องเสียภาษีในนามห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนหรือ

คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมแต่ละคนจะแยกยื่นเสียภาษีในนามของตนเองไม่ได้

2. ตามข้อเท็จจริง เมื่อนาง ก และพวก คือนาย ข และนาง ค ได้นำรายรับที่ได้จาก

การขายที่ดินตามส่วนที่ตนมีไปยื่นแบบ ภ.ธ.40 เพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในนามของแต่ละบุคคลแล้ว เข้า

ลักษณะเป็นการยื่นแบบแสดงรายการผิดหน่วยภาษี เนื่องจากในการเสียภาษีในนามของห้างหุ้นส่วนสามัญ

ไม่จดทะเบียนหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล บุคคลผู้เข้าร่วมในคณะบุคคลดังกล่าวต้องรับผิดร่วมกัน เพื่อหนี้

ทั้งปวงของห้างโดยไม่มีจำกัด ทั้งนี้ ตามมาตรา 1025 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น นาง

ก และพวกอีก 3 คนจึงต้องรับผิดร่วมกันในหนี้ภาษีอากรจากการขายที่ดินดังกล่าว โดยกรมสรรพากร

มีสิทธิจะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้แค่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่ลูกหนี้

ทั้งปวงก็ยังคงต้องผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิง ทั้งนี้ ตามมาตรา 291 แห่ง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/02985 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2542

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)