Skip to Content

ส่งเสริมการขาย ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการขาย

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการขาย


ข้อเท็จจริง

บริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ประกอบ

ธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทกิจการจัดการลงทุน บริษัทฯ มีรายได้จากค่าธรรมเนียมการจัดการกองทุนและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่เดือน

ภาษีสิงหาคม 2535 เป็นต้นมา บริษัทฯ จะจัดโครงการส่งเสริมการขายให้กับลูกค้าที่ซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนที่บริษัทฯ จัดการตาม

เงื่อนไขที่กำหนด

บริษัทฯ จะจัดส่งของกำนัลให้กับลูกค้าเมื่อสิ้นสุดระยะ

เวลาจัดโครงการ บริษัทฯ จึงขอทราว่า

1. บริษัทฯ มีสิทธิบันทึกค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายไปในโครงการ

เป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ใช่หรือไม่

2. บริษัทฯ ต้องนำส่งภาษีขายหรือไม่ อย่างไร

3. บริษัทฯ ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ อย่างไร

4. ลูกค้าผู้รับของกำนัลจะต้องนำมูลค่าของกำนัลที่ได้รับมา

รวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้หรือไม่ อย่างไร


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 65 ตรี (13) และมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร

แนววินิจฉัย

1. กรณีบริษัทฯ มีรายจ่ายจากการให้ของกำนัลแก่ลูกค้าที่

ซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนที่บริษัทฯ จัดการ ตามเงื่อนไขที่กำหนด เพื่อเป็นการส่งเสริมการขาย รายจ่ายดังกล่าว ถือเป็นรายจ่ายเพื่อหา

กำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ บริษัทฯ มีสิทธินำมาถือเป็น รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้าม

ตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร

2. กรณีการให้รางวัล หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่ง

เสริมการขายให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการซึ่งเป็นผู้บริโภค หรือเป็นผู้ประกอบการที่นำสินค้าหรือบริการไปใช้ในการประกอบกิจการ

ของตนเองโดยตรง โดยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ ไม่อยู่ในบังคับต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ทั้งนี้ ตามข้อ 12/2 ของคำสั่งกรม

สรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26

กันยายน พ.ศ. 2528 และของกำนัลดังกล่าว ไม่เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าหรือให้บริการ จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากของ

กำนัลที่ได้รับตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(6) และ (7) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม

(ฉบับที่ 40) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวล

รัษฎากร ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535

3. กรณีของกำนัลที่ลูกค้าได้รับ ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน

ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ลูกค้าต้องนำมูลค่าของกำนัลที่ได้รับดังกล่าว มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตาม

มาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0702/3314 ลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2553

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)