Skip to Content

สำรอง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีรายจ่ายเพื่อการคำนวณกำไรสุทธิสำหรับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีรายจ่ายเพื่อการคำนวณกำไรสุทธิสำหรับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ


ข้อเท็จจริง

รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิสำหรับเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ข้อเท็จจริงสรุปได้ ดังนี้

1. เดิมบริษัทฯ ได้ตั้งกองทุนบำเหน็จสำหรับผู้ปฏิบัติงาน ต่อมาเมื่อแปลงสภาพไปเป็นบริษัทจำกัด และ ได้มีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทฯ ขึ้นแล้ว บริษัทฯ ได้ตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพขึ้นใหม่ ตามพระราชบัญญัติกองทุน สำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530

2. เงินสมทบที่นายจ้างได้จ่ายเข้าเป็นเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุน สำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 น ายจ้างมีสิทธินำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลได้ตามมาตรา 65 ตรี (2) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ 183 (พ.ศ.2533) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และในกรณีที่นายจ้างได้ตั้งกองทุนบำเหน็จ สำหรับลูกจ้างไว้แล้ว ก่อนวันที่จะได้มีการตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ หากจะโอนเงินในกองทุนบำเหน็จเดิม มาเป็นเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ตั้งขึ้นใหม่ และนายจ้างประสงค์ จะนำจำนวนเงินที่โอน มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล นายจ้างต้องยื่นคำขอจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพใหม่ พร้อมทั้งยื่นคำขอนำเงินในกองทุนเดิมเข้าเป็นเงินในกองทุนสำรอง เลี้ยงชีพใหม่ต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะนายทะเบียนให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2548 ทั้งนี้ ตามกฎกระทรวง (พ.ศ.2532) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530

3. จำนวนเงินในกองทุนบำเหน็จเดิมที่บริษัทฯ จะโอนไปเป็นเงินทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ตั้งขึ้นใหม่ ตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ บริษัทฯ ได้ทำการแก้ไขข้อบังคับของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพใน ส่วนที่เกี่ยวกับวิธีการคิดคำนวณจำนวนเงิน โดยไม่ได้เสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ของบริษัทฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบ และกระทรวงการคลังได้มีหนังสือที่ กค 0209.2/10649 ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2545 แจ้งอนุมัติให้บริษัทฯ ถือเป็นแนวปฏิบัติตามที่แก้ไขได้ โดยวิธีการคำนวณที่ได้แก้ไขนั้น กำหนดให้บริษัทฯ ทำการแยกคำนวณเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่พนักงานได้ปฏิบัติงานอยู่กับการสื่อสารฯ ช่วงหนึ่ง และช่วงที่ พนักงานปฏิบัติงานอยู่กับบริษัทฯ อีกช่วงหนึ่ง ซึ่งจำนวนเงินที่บริษัทฯ คำนวณได้ตามวิธีการดังกล่าว มีจำนวน 1,331 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม การแก้ไขข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเกี่ยวกับวิธีการคำนวณจำนวนเงินสมทบ กองทุนที่ให้คิดเป็น 2 ช่วงดังกล่าว กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้วินิจฉัยว่า มีลักษณะเป็นการเปลี่ยนแปลง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เป็นการลดสิทธิประโยชน์ของพนักงาน และจะกระทำได้เมื่อคณะกรรมการกิจการ สัมพันธ์ของบริษัทฯ ให้ความเห็นชอบ ตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543

4. บริษัทฯ ได้หารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อให้วินิจฉัยว่า การแก้ไขข้อบังคับตามที่บริษัทฯ กระทำเป็นการชอบหรือไม่ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีคำวินิจฉัยว่า วิธีการคำนวณเงินเป็นสองช่วง ตามข้อบังคับที่บริษัทฯ ได้แก้ไขโดยมิได้นำไปให้ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์พิจารณาให้ความเห็นชอบ เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ขัดต่อพระราชบัญญัติแรงงานฯ จึงเป็นการแก้ไขที่ไม่ชอบ บริษัทฯ จึงต้อง ดำเนินการแก้ไขข้อบังคับใหม่โดยนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ เพื่อให้มีมติว่าจะให้ใช้ วิธีการคำนวณเงินกองทุนอย่างไร ซึ่งคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ได้มีมติให้บริษัทฯ ทำการคำนวณแบบช่วงเดียว ผลจากการที่บริษัทฯ ต้องคำนวณเงินกองทุนใหม่เป็นแบบช่วงเดียวนี้ ทำให้มีจำนวนเงินกองทุนที่จะต้องส่งเข้าสมทบ ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอีก 385 ล้านบาท บริษัทฯ จึงได้นำส่งเข้าเป็นเงินสมทบในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2549 และได้มีหนังสือถึง คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ฯ เพื่อขออนุมัติแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนเงินทุนที่จะส่งเข้าสมทบในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ฯ มีหนังสือพิจารณาอนุมัติให้บริษัทฯ ปรับปรุงยอดเงินเพิ่มเติมตามที่บริษัทฯ ขอมา และให้ถือเป็นเงินประเดิมที่นำเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพรวมกับเงินจำนวน 1,331 ล้านบาท ที่บริษัทฯ ได้ยื่น ขอครั้งแรกไว้แล้ว

บริษัทฯ จึงหารือว่า เงินสมทบกองทุนจำนวน 385 ล้านบาท บริษัทฯ จะถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไร สุทธิตามข้อ 8(1) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 183 (พ.ศ.2533)ฯ ได้หรือไม่ และจะถือเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีใด


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 65 ตรี (2) แห่งประมวลรัษฎากร และกฎกระทรวง ฉบับที่ 183

แนววินิจฉัย

1. จำนวนเงินที่โอนจากกองทุนบำเหน็จเดิม ขณะที่เป็นการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อไปเป็นเงินสมทบ ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทฯ หากบริษัทฯ ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนกองทุน พร้อมทั้งยื่นคำขอนำเงินทุน ของลูกจ้างเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ฯ ในฐานะนายทะเบียนภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2548 ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อ 3 หรือข้อ 3 ตรี แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ.2532)ฯ แล้ว ให้ถือว่า จำนวนเงินที่ได้โอนไปดังกล่าว เป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิได้ ตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับ ข้อ 8(1) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 183 (พ.ศ.2533)ฯ

2. สำหรับจำนวนเงินที่จะโอน บริษัทฯ จะต้องระบุยอดที่แน่นอนให้คณะกรรมการกำกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ทราบ แต่ถ้าหากบริษัทฯ ยังไม่สามารถระบุยอดที่แน่นอนได้ในวันที่ยื่นคำขอบริษัทฯ ก็สามารถระบุเป็นยอด ประมาณการสูงสุดได้ และเมื่อบริษัทฯ รู้จำนวนเงินที่แน่นอนแล้ว ก็สามารถแจ้งปรับปรุงข้อมูลต่อคณะกรรมการ กำกับหลักทรัพย์ฯ ในภายหลัง เมื่อปรากฏว่า บริษัทฯ ได้ดำเนินการตามแนวปฏิบัติดังกล่าวแล้ว โดยได้ยื่นคำขอ ต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ฯ เพื่อขออนุมัตินำเงินจากกองทุนบำเหน็จเดิมเข้าเป็นเงินสมทบในกองทุน สำรองเลี้ยงชีพ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2548 พร้อมทั้งใช้สิทธิขอระบุยอดเงินประมาณการสูงสุดไว้เป็นจำนวน 2,000 ล้านบาท และได้แสดงความจำนงขอนำเงินเข้ากองทุนเป็นแบบทั้งหมดในครั้งเดียว ซึ่งคณะกรรมการกำกับ หลักทรัพย์ฯ มีหนังสืออนุมัติให้ตามที่บริษัทฯ ขอ ถือได้ว่า บริษัทฯ ได้ดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่กำหนดแล้ว ต่อมาบริษัทฯ ได้คำนวณเงินที่จะโอนไปสมทบในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพด้วยวิธีการคำนวณแบบ 2 ช่วง ตาม ข้อบังคับของบริษัทฯ ได้เงินเป็นจำนวน 1,331 ล้านบาท และได้แจ้งปรับปรุงยอดเงินจำนวนดังกล่าวกับ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ฯ แล้ว บริษัทฯ จึงมีสิทธินำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือ ขาดทุนสุทธิได้ทั้งจำนวน ภายในห้ารอบระยะเวลาบัญชีรอบละเท่าๆ กัน โดยให้เริ่มนับตั้งแต่รอบระยะเวลา บัญชีปี 2548 ซึ่งเป็นรอบระยะเวลาบัญชีที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ฯ ได้อนุมัติให้นำเงินจากกองทุน บำเหน็จเดิมเข้าสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับ ข้อ 8(1) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 183 (พ.ศ.2533)ฯ

3. กรณีเงินกองทุนบำเหน็จเดิมที่เพิ่มขึ้นภายหลังจำนวน 385 ล้านบาท อันเป็นผลเนื่องมาจากการที่บริษัทฯ ต้องเปลี่ยนวิธีการคำนวณจากแบบ 2 ช่วงมาเป็นแบบ 1 ช่วงตามมติคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์นั้น เมื่อเงิน จำนวนดังกล่าว เป็นเงินที่โอนมาจากกองทุนบำเหน็จเดิม และเกิดจากวิธีการคิดคำนวณตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด โดยชอบ จึงถือว่า เงินจำนวน 385 ล้านบาท เป็นเงินประเภทเดียวกับเงินกองทุนบำเหน็จเดิม จำนวน 1,331 ล้านบาท ที่บริษัทฯ ได้ใช้สิทธิยื่นคำขอโอนและคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ฯ ได้อนุมัติให้นำเข้าเป็นเงินกองทุน สำรองเลี้ยงชีพไปแล้ว บริษัทฯ จึงมีสิทธินำเงินที่เพิ่มขึ้นจำนวนดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ หรือขาดทุนสุทธิได้ทั้งหมด โดยให้คำนวณเฉลี่ยเป็นรายจ่ายตามส่วนจำนวนรอบระยะเวลาบัญชีที่บริษัทฯ มีสิทธิ นำมาถือเป็นรายจ่ายได้ตาม 2.




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0702(กม.06)/1129 ลงวันที่ 04 มิถุนายน 2551

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)