Skip to Content

วิธีคำนวณภาษี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย

เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย


ข้อเท็จจริง

นาย ก ได้ไปโอนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่สำนักงานที่ดิน ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ของ

กรมที่ดินได้เรียกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย เป็นเงิน 48,245 บาท นาย ก ไม่เห็นด้วย

เพราะตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2542 เป็นต้นไป การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย ต้อง

คำนวณตามหลักเกณฑ์ใหม่ กล่าวคือให้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้ส่วนที่ไม่เกิน

50,000 บาทแรก แต่เพื่อมิให้เกิดความเสียหายต่อผู้ซื้อที่ดิน นาย ก ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและเสียภาษี

ตามที่เจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินคำนวณให้ผู้ซื้อไปก่อน นาย ก จึงหารือว่า ภาษีส่วนที่ถูกกรมที่ดินเรียกเก็บ

เกินไปเนื่องจากมิได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้สุทธิส่วนที่ไม่เกิน 50,000

บาทแรก จะได้รับการคืนภาษีให้หรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 48(4), มาตรา 50(5), พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 352) พ.ศ. 2542

แนววินิจฉัย

การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้สุทธิจากการคำนวณภาษีเงินได้ เฉพาะเงินได้ส่วนที่

ไม่เกิน 50,000 บาทแรก สำหรับปีภาษีนั้น ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป

ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 352) พ.ศ. 2542 แต่ตามข้อเท็จจริงเป็นกรณีหัก

ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากการจ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ผู้รับซึ่งขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งต้องคำนวณ

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(5)(ก) หรือ (ข)แห่งประมวลรัษฎากร แล้วแต่กรณี ดังนี้

(ก) สำหรับอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจาก

การให้โดยเสน่หา ให้คำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นเงินภาษี

ทั้งสิ้นเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น

(ข) สำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่น นอกจาก (ก) ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการ

เหมาตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48(4)(ข) แห่ง

ประมวลรัษฎากร เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น

ในการคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ผู้รับซึ่งขาย

อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเป็นการคำนวณภาษีเงินได้ตามมาตรา 48(4)(ก) หรือมาตรา 48(4)(ข) แห่ง

ประมวลรัษฎากร ซึ่งมิใช่การคำนวณภาษีเงินได้ตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่มีสิทธิ

ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้สุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 50,000 บาทแรกตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว

แต่อย่างใด

อย่างไรก็ดี เมื่อถึงกำหนดยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่นาย ก ได้รับระหว่าง

ปีภาษี พ.ศ.2542 นั้น และนาย ก ได้เลือกเสียภาษีสำหรับเงินได้ที่ได้รับจาก

การขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรือ อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร

โดยนำไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อย่างอื่น ตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร นาย ก ก็จะได้

รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้สุทธิจากการคำนวณภาษีเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 50,000 บาท

แรก ตามพระราชกฤษฎีกาฯ ดังกล่าว




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/26097 ลงวันที่ 04 พฤศจิกายน 2542

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)