Skip to Content

ลดหย่อน/เงินได้ที่ได้รับยกเว้น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการซื้อและขายคืนหน่วยลงทุน LT

เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการซื้อและขายคืนหน่วยลงทุน LT


ข้อเท็จจริง

นาย ก. ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว จากธนาคารฯ เป็นจำนวนเงิน 300,000 บาท เมื่อรอบปีภาษี 2550

นาย ก. มีสิทธิหักลดหย่อนได้ในอัตราไม่เกินร้อนละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน ซึ่งคิด เป็นเงิน 176,081.28 บาท นาย ก. จึงขอทราบว่า นาย ก. จะสามารถนำส่วนเกินที่เหลือจาก การหักลดหย่อนจากการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวขายคืน เพื่อจะได้นำไปซื้อ หน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวของปี 2551 ได้หรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 133)ฯ

แนววินิจฉัย

การซื้อหน่วยลงทุน ในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเ พื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน รวมหุ้นระยะยาว ผู้มีเงินได้ต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ให้เป็นไปตาม เงื่อนไขตามข้อ 1(2) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 133) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมระยะยาว ลงวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2547 ซึ่ง กำหนดไว้ว่า

"(2) ผู้มีเงินได้จะต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวต่อเนื่องกันเป็นระยะ เวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน แต่ไม่รวมถึงกรณีผู้มีเงินได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้น ระยะยาว เพราะทุพพลภาพหรือตาย"

ดังนั้น หากผู้มีเงินได้ได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน โดยไม่เป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าว ก็จะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับ เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุน ในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว แต่อย่างใด ทั้งนี้ การได้รับสิทธิยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้น ระยะยาว ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ตามข้อ 2 (66) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ประกอบกับประกาศ อธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 133) ฯ ลงวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2547




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0702/4809 ลงวันที่ 08 สิงหาคม 2551

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)