ลดหย่อน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีไม่คืนเงินภาษีอากร
เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีไม่คืนเงินภาษีอากรข้อเท็จจริงนาย ช. ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2543 จำนวน 2,595.47 บาท แต่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ไม่อนุมัติให้คืน เนื่องจาก นาย ช. ไม่ได้ย้ายชื่อเข้าอยู่ในทะเบียนบ้านที่ขอ กู้ยืมเงินมาซื้อ จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์การขอหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืม และเมื่อคำนวณภาษีใหม่แล้ว ปรากฏว่าภาษีที่คำนวณจากเงินได้สุทธิเท่ากับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซึ่งได้นำส่งไว้แล้ว นาย ช. จึงขอ ให้กรมสรรพากรชี้แจงเหตุผลที่ไม่คืนภาษี กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 47(1)(ซ), กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)ฯ, ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 86)ฯ, ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 88)ฯแนววินิจฉัยการหักลดหย่อนตามมาตรา 47(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร ที่กำหนดให้หักได้ตามจำนวน ที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท และการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ย เงินกู้ยืมตามที่จ่ายจริงเฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 40,000 บาท ตามข้อ 2(53) ของ กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)ฯ เป็นกรณีให้สิทธิสำหรับผู้มีเงินได้ที่ซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้าง อาคาร เพื่อการอยู่อาศัย ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 86)ฯ และ (ฉบับที่ 88)ฯ ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ซึ่งได้มีการกำหนดให้ผู้ใช้สิทธิหักลดหย่อนและยกเว้น ภาษีดังกล่าวจะต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ในปีที่ขอหักลดหย่อนและ ยกเว้นภาษีด้วย ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/4001 ลงวันที่ 29 เมษายน 2546 |