Skip to Content

ลดหย่อน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้

เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้


ข้อเท็จจริง

เรือเอก ส. มีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดสงขลา ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินเพื่อสร้างบ้านบนที่ดินของ

ตนเองที่จังหวัดนราธิวาสจากธนาคาร ก. เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2540 จำนวนเงิน 350,000 บาท

ต่อมาวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2541 ได้ไถ่ถอนจำนองจากธนาคาร ก. และได้จดทะเบียนจำนองกับธนาคาร

อ. เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยถูกกว่า กรณีดังกล่าวสามารถนำดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากธนาคาร อ. ไป

หักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้หรือไม่ หากสามารถนำไปหักเป็นค่าลดหย่อนได้ แต่

ธนาคาร อ. ไม่ออกหนังสือรับรองดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้จะทำอย่างไร

เรือเอก ส. รับราชการเป็นทหารเรือ จังหวัดสงขลา ตั้งแต่ปี 2518 ในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม

2538 ถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2540 ได้ไปปฏิบัติราชการในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็น

ผู้บังคับกองร้อยอาสารักษาดินแดน จังหวัดนราธิวาส และได้พักอาศัยอยู่ที่บ้านหลังดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1

ตุลาคม 2539 ถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2540 ปัจจุบันได้ย้ายไปปฏิบัติราชการอที่ จังหวัดสงขลา และมีชื่ออยู่

ในทะเบียนบ้านจังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นบ้านพักของทางราชการ และเป็นไปตามระเบียบของทางราชการที่

จะต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในท้องที่ที่รับราชการ โดยในวันหยุดราชการจะกลับไปพักผ่อนที่บ้านที่จังหวัด

นราธิวาส เพราะครอบครัวพักอาศัยอยู่ที่นั่น และประสงค์จะหักลดหย่อนจาก ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตั้งแต่ปี

2543 เป็นต้นไป


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 47(1)(ซ), ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 86)ฯ ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544

แนววินิจฉัย

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 เป็นต้นไป ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47(1)(ซ) แห่ง

ประมวลรัษฎากร หมายความรวมถึงดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้าง

อาคารที่อยู่อาศัย หรือห้องชุดด้วย ทั้งนี้ เฉพาะดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ยืมเพื่อชำระหนี้ส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่

ค้างชำระ และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นไป กรมสรรพากรได้ยกเลิกหลักเกณฑ์การมีชื่ออยู่ใน

ทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรของผู้มีเงินได้ ดังนั้น ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่เรือเอก ส.

ชำระให้กับธนาคาร อ. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นไป จึงมีสิทธิหักเป็นค่าลดหย่อนใน

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ ตามข้อ 2 และข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ

ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 86)ฯ ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดี

กรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 101)ฯ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2544 และได้รับการ

ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่รวมกันต้อง

ไม่เกิน 50,000 บาท ตามข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ

ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 88)ฯ ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดย

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 103)ฯ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2544

โดยธนาคาร อ. มีหน้าที่ต้องออกหนังสือรับรองดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง

หลักฐานการหักลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ลงวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2543




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811(กม.14)/492 ลงวันที่ 10 พฤษภาคม 2545

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)