ลดหย่อน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการหักลดหย่อนบุตรชอบด้วยกฎหมายของภริยา
เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการหักลดหย่อนบุตรชอบด้วยกฎหมายของภริยาข้อเท็จจริงนาย ก. เป็นพนักงานบริษัท มีรายได้ประเภทเงินเดือน สมรสเมื่อปี 2529 มีบุตร 1 คน อยู่ ระหว่างการศึกษา และได้จดทะเบียนหย่าปี 2539 มีบันทึกหลังการหย่าว่าบุตรอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดู ของบิดา ต่อมาปี 2542 นาย ก. ได้จดทะเบียนสมรสกับภริยาใหม่ ภริยาใหม่ไม่มี เงินได้และเคยสมรส มาก่อน มีบุตรชอบด้วยกฎหมาย 1 คน (ด.ญ.นา) กำลังศึกษา ได้หย่าขาดจากสามีเดิมโดยมีบันทึกหลัง การหย่าให้บุตรอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดา แต่ในทางปฏิบัติมารดา (ภริยาใหม่) ยังคงส่งเสีย เลี้ยงดู ด.ญ.นา สม่ำเสมอ มีการเยี่ยมเยียนบุตรเดือนละ 1-2 ครั้ง ปิดภาคเรียนก็รับบุตรมาอยู่ด้วย นาย ก. จึงหารือว่า นาย ก. มีสิทธิหักลดหย่อนบุตรชอบด้วยกฎหมายของภริยาได้หรือไม่เพียงใด และ บิดาของ ด.ญ.นา ซึ่งรับราชการมีสิทธิหักลดหย่อน ด.ญ.นา ได้เต็มจำนวนหรือไม่ และคำว่าบุตร ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 47(1)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร หมายความว่าอย่างไร กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 47(1)(ค)แนววินิจฉัย1. กรณีบิดามารดาหย่าขาดจากกัน หากบุตรอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของฝ่ายใดฝ่ายนั้น มีสิทธินำบุตรมาหักลดหย่อนได้ ทั้งนี้ การอุปการะเลี้ยงดูพิจารณาตามความเป็นจริง ดังนั้น แม้ในบันทึก การหย่าให้บุตรอยู่ในความอุปการะของบิดา แต่เมื่อปรากฏว่ามารดาได้ส่งเสียเลี้ยงดูด้วย บุตรจึงอยู่ใน อุปการะเลี้ยงดูของทั้งบิดาและมารดา จึงหักลดหย่อนบุตรได้ฝ่ายละ 15,000 บาท ตามมาตรา 47(1) (ค) แห่งประมวลรัษฎากร และยังหักลดหย่อนเพื่อการศึกษาของบุตรได้อีกฝ่ายละ 2,000 บาท ตาม มาตรา 47(1)(ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร 2. กรณีภริยาไม่มีเงินได้ สามีมีสิทธิหักลดหย่อนบุตรชอบด้วยกฎหมายของภริยา เต็มจำนวน ตามมาตรา 47(1)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น นาย ก. จึงมีสิทธิหักลดหย่อนบุตรชอบด้วยกฎหมาย ของภริยาได้เต็มจำนวน 3. คำว่าบุตรชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 47(1)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร หมายถึง บุตร ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว 4. สามีเก่าของภริยาใหม่ (บิดาของ ด.ญ. นา) มีสิทธิหักลดหย่อนบุตรได้เต็มจำนวน ตาม นัยคำตอบข้อ 1. ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/10092 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2544 |