ลดหย่อน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อบ้านอยู่อาศัย
เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อบ้านอยู่อาศัยข้อเท็จจริงสำนักงานสรรพากรภาคแจ้งว่า นาย ก. โดยมีข้อเท็จจริงว่า นาย ก. เป็นพนักงานของ บริษัท อ. โดยปฏิบัติงานอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี นาย ก. ได้กู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อซื้อบ้านอยู่อาศัยซึ่งตั้ง อยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยจำนองบ้านพร้อมที่ดินเป็นประกันการกู้ยืมเงินและได้พักอาศัยอยู่ที่ บ้านหลังดังกล่าวตลอดมา นาย ก. เป็นผู้ยื่นคำร้องขอเลขที่บ้านโดยมิได้แจ้งย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้านหลัง ดังกล่าว แต่ยังคงมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 9 ซอย วชิรธรรมสาธิต 37 แขวงบางจาก เขต พระโขนง กรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้อาศัยตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 จนถึงปัจจุบัน ในการคำนวณ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2543 ปรากฏว่านาย ก. ได้ใช้สิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อบ้าน อยู่อาศัยหลังดังกล่าว จึงหารือว่า นาย ก. มีสิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมในการคำนวณ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 47(1)(ซ)แนววินิจฉัยตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 86) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการ การหักลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ข้อ 2(4) ได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าผู้ขอใช้สิทธิหักลดหย่อน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อบ้านอยู่อาศัยจะต้องใช้บ้านหลังดังกล่าวเป็นที่อยู่อาศัยโดยจะต้องมีชื่ออยู่ใน ทะเบียนบ้าน เว้นแต่ไม่อาจมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านได้เพราะเหตุที่นายจ้างสั่งให้ไปปฏิบัติงานของนายจ้าง ณ ต่างถิ่นเป็นประจำ ซึ่งกรณีตามข้อเท็จจริงนาย ก. ไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านหลังที่ขอใช้สิทธิ หักลดหย่อนมิใช่กรณีที่เกิดจากเหตุที่นายจ้างสั่งให้ไปปฏิบัติงาน ณ ต่างถิ่นเป็นประจำ ดังนั้น นาย ก. จึง ไม่มีสิทธิหักลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อบ้านอยู่อาศัยในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับปีภาษี 2543 ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/4127 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2545 |