Skip to Content

ลดหย่อน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อน

เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อน


ข้อเท็จจริง

ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.91) ผู้มีเงินได้และคู่สมรส

มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนอย่างไร

1. กรณีความเป็นสามีภริยามีอยู่ตลอดปีภาษี ผู้มีเงินได้ประเภทเงินเดือน ค่าจ้างประเภท

เดียว ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะหักค่าใช้จ่าย และหักลดหย่อนภริยาสำหรับเงินได้

ดังกล่าวอย่างไรและในกรณีคู่สมรสของผู้มีเงินได้นั้นไม่มีเงินได้พึงประเมิน คู่สมรสจะหักค่าใช้จ่ายสำหรับ

เงินได้ดังกล่าวเพิ่มขึ้นอีกได้หรือไม่

2. การหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย ในกรณี

ความเป็นสามีภริยามีอยู่ตลอดปีภาษี สามีภริยาร่วมกันกู้ยืม โดยสามีมีเงินได้ฝ่ายเดียว กรณีนี้จะ

หักลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมดังกล่าวอย่างไร


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 40(1), มาตรา 47(1)(ข), มาตรา 47(1)(ซ), ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ฯ (ฉบับที่

แนววินิจฉัย

1. กรณีตาม 1. ความเป็นสามีภริยามีอยู่ตลอดปีภาษี ในการคำนวณ

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีผู้มีเงินได้ มีเงินได้ประเภทเงินเดือน ค่าจ้างประเภทเดียว เงินได้

ดังกล่าวถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งกฎหมายยอมให้หัก

ค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท ตามมาตรา 42 ทวิ

วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร และเนื่องจากคู่สมรสของผู้มีเงินได้ไม่มีเงินได้พึงประเมิน คู่สมรสฯ นั้น

จึงไม่มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายใด ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร แต่ในการหักลดหย่อนผู้มีเงินได้มีสิทธิ

หักลดหย่อนภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายได้ด้วย ตามมาตรา 47 (1) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร

2. กรณีตาม 2. การหักลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคาร

อยู่อาศัยซึ่งเป็นแหล่งสำคัญเพียงแห่งเดียว ในกรณีความเป็นสามีภริยามีอยู่ตลอดปีภาษี สามีภริยาร่วมกัน

กู้ยืมโดยสามีมีเงินได้ฝ่ายเดียวนั้น ตามบทบัญญัติมาตรา 47 (1) (ซ) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับ

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 24) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการ

การหักลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ตามมาตรา 47 (1) (ซ) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12

มิถุนายน พ.ศ. 2529 หากสามีมีชื่ออยู่ในทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และได้

อยู่อาศัยในระหว่างปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนไม่ว่าภริยาจะเป็นผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วย

การทะเบียนราษฎร และได้อยู่อาศัยในระหว่างปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนหรือไม่ สามีซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ย่อม

มีสิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมในกรณีดังกล่าวได้เต็มจำนวนตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000

บาท




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/04212 ลงวันที่ 07 เมษายน 2541

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)