Skip to Content

ลดหย่อน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการหักค่าลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ตามมาตรา 47 (1) (ช) แห่งประมวลรัษฎากร

เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการหักค่าลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ตามมาตรา 47 (1) (ช) แห่งประมวลรัษฎากร


ข้อเท็จจริง

กรณีผู้กู้เปลี่ยนตัวเจ้าหนี้โดยทำการไถ่ถอนหนี้จากธนาคาร แล้วนำมาจดจำนองเป็นประกัน

การกู้ยืมเงินกับบริษัท ซึ่งผู้กู้ทำงานอยู่ ผู้กู้สามารถหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ ได้หรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 47(1)(ช), ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 24)

แนววินิจฉัย

การที่ผู้กู้เปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ โดยทำการไถ่ถอนหนี้จากธนาคารฯ แล้วนำมาจดจำนองเป็น

ประกันการกู้ยืมเงินกับบริษัทฯ ซึ่งผู้กู้ทำงานอยู่ มิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ตามข้อ

1 (9) แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 24) ลงวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.

2529 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 26) ลงวันที่ 11

สิงหาคม พ.ศ. 2530 คำว่า "การแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้" หมายถึง กรณีที่เจ้าหนี้เดิม

โอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ดังกล่าวไปยังเจ้าหนี้ใหม่ ตามมาตรา 349 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ดังนั้น ดอกเบี้ยเงินกู้ที่กู้จากบริษัทฯ นายจ้างจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 1 (1) - (10) แห่ง

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ฉบับดังกล่าว และไม่อยู่ในข่ายที่จะนำไปหักลดหย่อนใน

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 47 (1) (ซ) แห่งประมวลรัษฎากร




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811(กม)/1212 ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2541

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)