ลดหย่อน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)ข้อเท็จจริงในปี 2546 นาง ส. ทำงานที่บริษัทแห่งหนึ่ง และได้ซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) จำนวน 200,000 บาท ต่อมาในปี 2547 ได้ลาออกจากงาน แต่ยังมีเงินได้อยู่ พร้อมทั้งซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) อีก จำนวน 10,000 บาท ส่วนในปี 2548 ไม่มีเงินได้ จึงขอทราบว่า หลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การซื้อและขายหน่วยลงทุน RMF ในปี 2548 เป็นต้นไปเป็นอย่างไร กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากรแนววินิจฉัย1. กรณีเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องเป็นไปตามข้อ 2 (55) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)ฯ ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 90) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ.2544 ดังนั้น หากในปี 2548 นาง ส. ไม่มีเงินได้ นาง ส. มีสิทธิหยุดการซื้อหน่วยลงทุน RMF ได้ไม่เกิน 1 ปี และไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ในปีภาษีดังกล่าว จนกว่านาง ส. จะมีเงินได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องยื่นรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร 2. กรณีนาง ส. ซื้อหน่วยลงทุน RMF ในปี 2546 และปี 2547 จำนวน 200,000 บาท และ10,000 บาท ตามลำดับ หากนาง ส. ขายคืนหน่วยลงทุนดังกล่าว เมื่อได้ถือหน่วยลงทุนนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรกจึงจะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามข้อ 2(65) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)ฯ ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 90)ฯ ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ.2544 จากการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 แล้วแต่กรณี ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค0706/2751 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2549 |