ลดทุน ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการลดทุน
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการลดทุนข้อเท็จจริงบริษัท Dหารือเกี่ยวกับภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีการขายหุ้นและลดทุนตามข้อเท็จจริงดังกล่าวว่า ภาระภาษีในกรณีที่ Dทำการลดทุนแบบเฉพาะเจาะจงจำนวนประมาณ 170 ล้านหุ้นในส่วนของ U ที่ถืออยู่ใน D เพื่อไม่ให้เกิดการถือหุ้นไขว้กันตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์โดยการซื้อหุ้น D คืนจาก U ตามมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้น (Par) 10 บาท U ต้องนำรายได้จากการโอนหุ้นดังกล่าวไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากรแต่หากการโอนหุ้นดังกล่าวต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควรเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินค่าตอบแทนตามราคาตลาดในวันที่โอนได้ตามมาตรา65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร D ขอหารือเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการลดทุน ดังนี้ 1. กรณีที่ Uต้องนำรายได้จากการโอนหุ้นดังกล่าวตามมูลค่าที่ตราไว้ 10บาทไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น Uมีสิทธิที่จะนำต้นทุนที่ได้มาจากการซื้อหุ้นดังกล่าวมาหักออกในการคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้หรือไม่ 2. กรณีที่ Dลดทุนเพื่อไม่ให้เกิดการถือหุ้นไขว้ตามหลักเกณฑ์ของสำนักงาน ก.ล.ต.โดยการซื้อหุ้น Dคืนจาก U แล้วดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงลดจำนวนหุ้นลงกับกระทรวงพาณิชย์จากเดิมที่มี Uเป็นผู้ถือหุ้นจำนวน 170 ล้านหุ้นในสัดส่วนนี้จะหายไปจากโครงสร้างผู้ถือหุ้น ไม่ถือเป็นการลดทุน มาตรา40(4)(ง)แห่งประมวลรัษฎากรใช่หรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 40(4)(ง) แห่งประมวลรัษฎากรแนววินิจฉัย1. กรณี U ต้องนำรายได้จากการที่D ซื้อหุ้นคืนจำนวนประมาณ 170 ล้านหุ้นตามมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้น (Par) 10 บาทมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล Uมีสิทธินำต้นทุนที่ได้มาจากซื้อหุ้นดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 มาตรา65 ทวิ และมาตรา65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร 2. กรณี Dลดทุนโดยการนำหุ้นที่ซื้อคืนจาก Uมาดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกับกระทรวงพาณิชย์โดยการลดจำนวนหุ้นลงทำให้สัดส่วนดังกล่าวหายไปจากโครงสร้างผู้ถือหุ้นไม่เข้าลักษณะเป็นการลดทุนตามมาตรา40(4)(ง) แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/9234 ลงวันที่ 12 กันยายน 2550 |