รายได้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีเงินที่ได้รับจากการลดทุน
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีเงินที่ได้รับจากการลดทุนข้อเท็จจริงบริษัท ม. ได้หารือข้อกฎหมาย กรณีเงินที่ได้รับจากการลดทุน โดยปรากฏข้อเท็จจริงว่า บริษัทฯ เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ประกอบธุรกิจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ปัจจุบัน บริษัทฯ เป็น ผู้ถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์ ล. ("ม.") โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 51 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2544 บริษัทฯ ได้รับเงินจากการลดทุนของ ล. ซึ่งการลดทุนดังกล่าวเป็นไปตามมติของที่ประชุมวิสามัญ ผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2544 และ ล. ได้จดทะเบียนลดทุนกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2544 นอกจากนี้ ล. ได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลให้แก่ผู้ถือหุ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2544 บริษัทฯ หารือว่า 1. บริษัทฯ เข้าใจว่า บริษัทฯ ต้องนำเงินลดทุนเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรสะสมของ ล. มาเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิของบริษัทฯ ตามสัดส่วนการ ถือหุ้นของบริษัทฯ ใน ล. ความเข้าใจของบริษัทฯ ถูกต้องหรือไม่ และหากต้องนำมารวมเป็นรายได้ บริษัทฯ สามารถใช้ยอดกำไร สะสมของ ล. ณ วันสิ้นรอบบัญชีปี 2543 หักด้วยยอดเงินปันผลระหว่างกาลที่ ล. ได้จ่ายในเดือน กุมภาพันธ์ 2544 (ซึ่งบริษัทฯ ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมเป็นรายได้ตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่ง ประมวลรัษฎากร) ก่อนที่จะมีการลดทุน มาใช้ในการคำนวณรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทฯ ความเข้าใจของบริษัทฯ ถูกต้องหรือไม่ 2. บริษัทฯ เข้าใจว่า เงินสำรองตามกฎหมายที่ ม. กันไว้ทุกคราวที่มีการจ่ายเงินปันผลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของการลดทุน บริษัทฯ จึงไม่ต้องนำเงินสำรอง ดังกล่าวมารวมเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ความเข้าใจของบริษัทฯ ถูกต้องหรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 65แนววินิจฉัยบริษัทฯ ต้องนำเงินลดทุนที่ได้รับเฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่ากำไรสะสมของ ล. และเงินสำรองที่ กันไว้รวมกันมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ตามสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทฯ ใน ล. โดยบริษัทฯ สามารถนำกำไรสะสมตามงบดุลของ ล. ที่ได้รับ การตรวจสอบและรับรองจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตครั้งสุดท้ายก่อนการคืนเงินลดทุน หักด้วยเงินปันผล ระหว่างกาลที่ ล. จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นก่อนการคืนเงินลดทุนมาถือเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อ เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทฯ ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/4660 ลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2546 |