Skip to Content

รายได้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีรายได้ที่ได้รับการปลดหนี้จากกองทุนรวม

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีรายได้ที่ได้รับการปลดหนี้จากกองทุนรวม


ข้อเท็จจริง

บริษัทฯ ยื่นคำร้องขอคืนภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ชำระไว้เกิน (ค.10) ในระหว่างปี 2539 –

2540 บริษัทฯ ได้กู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน 6 แห่ง และได้ชำระคืนไปบางส่วนแล้ว ต่อมา

สถาบันการเงินได้ปิดกิจการ ทางองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ป.ร.ส.) ได้เข้ามา

บริหารทรัพย์สินของสถาบันการเงินทั้ง 6 แห่ง ป.ร.ส. ได้ดำเนินการจัดประมูลสินเชื่อของ

สถาบันการเงินที่ปิดกิจการ โดยมีกองทุนรวมแกมม่าแคปปิตอล และกองทุนรวมบางกอกแคปปิตอลได้

ประมูลซื้อสัญญาเงินกู้ที่บริษัทฯ ได้ทำไว้กับสถาบันการเงินทั้ง 6 แห่ง ซึ่งกองทุนรวมแกมม่าแคปปิตอลได้

ซื้อสัญญาเงินกู้ของสถาบันการเงินลำดับที่ 1 - 5 และกองทุนรวมบางกอกแคปปิตอลได้ซื้อสัญญาเงินกู้ของ

สถาบันการเงินลำดับที่ 6

ต่อมาเมื่อปี 2542 - 2543 บริษัทฯ ได้รับหนังสือแจ้งการรับโอนสิทธิและขอให้ชำระหนี้

หนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญาและให้ชำระหนี้และหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ บริษัทฯ ได้เจรจาตกลงกับ

กองทุนรวมในการชำระหนี้ และได้ทำสัญญาปลดหนี้ให้บริษัทฯ บางส่วน บริษัทฯ ไม่ได้นำรายได้ที่ได้รับลด

หนี้จากกองทุนรวมทั้งสอง มารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 1 สิงหาคม

2543 - 31 กรกฎาคม 2544 เนื่องจากบริษัทฯ เข้าใจว่าเป็นรายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

จึงไม่นำมารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

รายได้ที่บริษัทฯ ได้รับลดหนี้จากกองทุนรวมทั้ง 2 แห่ง ได้รับสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาออก

ตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 360) พ.ศ. 2542 หรือไม่ อย่างไร


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 65

แนววินิจฉัย

กรณีดังกล่าว บริษัทฯ เดิมเป็นหนี้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ รวม 6 แห่ง เมื่อบริษัทเงินทุน

หลักทรัพย์ทั้ง 6 แห่งได้ปิดกิจการ องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ป.ร.ส.) ได้เข้ามา

บริหารทรัพย์สินของสถาบันการเงินทั้ง 6 แห่งดังกล่าว โดยกองทุนรวมทั้ง 2 แห่งได้ประมูลสินเชื่อของ

บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ทั้ง 6 แห่ง และได้ปลดหนี้ให้บริษัทฯ บางส่วนด้วย

เนื่องจากตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร

ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 360) พ.ศ. 2542 ความหมายของสถาบันการเงินมิได้มีความหมาย

รวมถึงกองทุนรวมด้วย จึงทำให้เงินที่บริษัทฯ ได้รับจากการปลดหนี้จากกองทุนรวมฯ ไม่ได้รับการยกเว้น

ภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 360) พ.ศ. 2542

ดังนั้น บริษัทฯ ต้องนำจำนวนเงินที่ได้รับจากการปลดหนี้จากกองทุนรวมมารวมคำนวณเป็น

รายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706(กม.03)/881 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2547

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)