Skip to Content

รายได้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการปลดหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยค้างชำระ

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการปลดหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยค้างชำระ


ข้อเท็จจริง

บริษัท ส. จำกัด เคยเป็นหนี้เงินกู้ยืมกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ต่อมาบริษัท เงินทุนฯ ได้ถูก

คณะกรรมการเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) สั่งให้ระงับการดำเนินกิจการเป็นการถาวร

และ ปรส. ได้นำสินทรัพย์ของบริษัทเงินทุนฯ ซึ่งรวมถึงหนี้ของบริษัทฯ ที่เป็นลูกหนี้บริษัทเงินทุนฯ ออก

ประมูลขาย โดยกองทุนรวม ก. เป็นผู้ชนะการประมูล และได้เรียกร้องให้บริษัทฯ ชำระหนี้ โดยยินยอม

ปลดหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยค้างชำระให้แก่บริษัทฯ จำนวนหนึ่ง และบริษัทฯ ได้ชำระหนี้ให้แก่กองทุนรวมฯ

เสร็จสิ้นแล้ว

บริษัทฯ เห็นว่า บริษัทฯ มีนิติสัมพันธ์กับบริษัทเงินทุนฯ การที่ ปรส. นำหนี้ ดังกล่าวไปขายให้

แก่กองทุนรวมฯ นั้น บริษัทฯ ไม่ได้ยินยอมด้วย โดยบริษัทฯ ได้รับการปลดหนี้จากกองทุนรวมฯ และได้

ชำระหนี้ไปแล้ว ย่อมถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้และได้รับการปลดหนี้จากบริษัทเงินทุนฯ ซึ่งถือเป็น

สถาบันการเงินและถือเป็นเหตุอันสมควร บริษัทฯ จึงไม่ต้องนำจำนวนเงินที่ได้รับการปลดหนี้จาก

กองทุนรวมฯ มารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในการคำนวณกำไรสุทธิ ตาม

คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.95/2543 เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล การพิจารณาเหตุอันสมควรตามมาตรา

65 ทวิ (4) และกรณีคำนวณรายได้รายจ่าย ตามมาตรา 65 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่

14 มกราคม พ.ศ. 2543

บริษัทฯ จึงหารือว่า ความเห็นของบริษัทฯ ถูกต้องหรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 65

แนววินิจฉัย

กรณีดังกล่าวจำนวนเงินที่ได้รับจากการปลดหนี้จากกองทุนรวมฯ ไม่ได้รับการยกเว้น

ภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกฎหมายแต่อย่างใด บริษัทฯ ต้องนำมารวมคำนวณเป็นรายได้ในการคำนวณ

กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/1581 ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2545

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)