Skip to Content

รายจ่าย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ

เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ


ข้อเท็จจริง

1. เบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทฯ จ่ายจะถือเป็นรายจ่ายของบริษัทฯ ได้หรือไม่

2. เบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทฯ จ่ายถือเป็นเงินได้พึงประเมินของกรรมการหรือไม่

3. บริษัทฯ ได้รับค่าสินไหมทดแทนกรณีกรรมการเสียชีวิต มีภาระภาษีเพียงใดหรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 65, มาตรา 65 ตรี (3), มาตรา 65 ตรี (13), มาตรา 40(2), มาตรา 48(1), มาตรา 48(2)

แนววินิจฉัย

1. กรณีเงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทฯ จ่ายให้กรรมการตามมติที่ประชุมของบริษัทฯ หากเป็น

กรณีที่บริษัทฯ ต้องจ่ายให้กรรมการทุกคนเป็นการทั่วไป ตามระเบียบของบริษัทฯ นั้น บริษัทฯ มีสิทธินำ

เบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้ มาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้

ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร

2. เนื่องจากบริษัทฯ มิได้เป็นผู้เอาประกันชีวิต หากแต่เป็นกรณีที่กรรมการเป็น

ผู้เอาประกันชีวิตเอง และบริษัทฯ เป็นผู้จ่ายเบี้ยประกันชีวิตแทนกรรมการ ดังนั้น ค่าเบี้ยประกันชีวิตที่

บริษัทฯ จ่ายแทนกรรมการ ถือเป็นประโยชน์เพิ่มใด ๆ เนื่องจากการรับทำงานให้ตามมาตรา 40(2)

แห่งประมวลรัษฎากร กรรมการต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) และ

(2) แห่งประมวลรัษฎากร

3. สำหรับเงินค่าสินไหมทดแทน กรณีการเสียชีวิตของกรรมการที่บริษัทฯ เป็นผู้รับประโยชน์

นั้น บริษัทฯ ต้องนำไปรวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่ง

ประมวลรัษฎากร




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/6793 ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2547

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)