รายจ่าย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีส่งพนักงานเข้ารับการศึกษา
เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีส่งพนักงานเข้ารับการศึกษาข้อเท็จจริงบริษัทฯ เป็นผู้ผลิตสินค้าบรรจุกล่อง ยูเอชที พร้อมปรุง และ เครื่องดื่มธัญพืชบรรจุกล่องยูเอชที จำหน่ายทั้งในประเทศ และส่งออกต่างประเทศ บริษัทฯ มีความประสงค์จะส่งพนักงานไปศึกษาต่อระ ดับปริญาตรีทางด้านวิศวกรรม และระดับปริญญาโทระดับปริญญาเอก ทางด้านบริหารธุรกิจ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มหาวิทยาลัยภาย ในประเทศ ซึ่งตรงกับสายงานที่พนักงานปฏิบัติอยู่ โดยจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินงานของบริษัทฯ บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ การศึกษาประกอบด้วยค่าเล่าเรียน ค่าบำรุงปกติ ค่าบำรุงพิเศษ และค่าบริการอื่นของ มหาวิทยาลัย บริษัทฯ จึงขอหารือ ดังนี้ 1. บริษัทฯ มีสิทธินำค่าใช้จ่ายค่าเล่าเรียน ค่าบำรุงปกติ ค่า บำรุงพิเศษ และค่าบริการอื่นของมหาวิทยาลัยมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นจำนวน 2 เท่า ของค่าใช้จ่ายได้หรือไม่ กรณีใบเสร็จรับเงินที่มหาวิทยาลัยออกในนามของพนักงาน และค่าใช้จ่ายดังกล่าวถือเป็นประโยชน์เพิ่มของ พนักงานหรือไม่ 2. หากพนักงานตาม 1. ลาออกก่อนจบการศึกษาและ บริษัทฯ ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว บริษัทฯ ต้องปฏิบัติอย่างไร 3. บริษัทฯ ต้องทำสัญญากับพนักงานหรือไม่ หากต้องทำ สัญญา บริษัทฯ ต้องกำหนดเงื่อนไขอย่างไร เมื่อพนักงาน ได้ทำสัญญาแล้ว แต่พนักงานไม่สามารถอยู่ปฏิบัติงานได้ครบตามสัญญา บริษัทฯ ต้องรับผิดชอบหรือไม่ และค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่บริษัทฯ ได้จ่ายไปจะต้องคำนวณกลับเป็นประโยชน์เพิ่มของพนักงานหรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากรแนววินิจฉัย1. กรณีตาม 1. บริษัทฯ ส่งพนักงานไปศึกษาต่อระดับ ปริญญาในมหาวิทยาลัยภายในประเทศหากค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นประโยชน์แก่การดำเนินงานของบริษัทฯ บริษัทฯ มีสิทธินำมาเป็นรายจ่าย ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนกรณีการยกเว้น ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นจำนวนร้อยละร้อยของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายในการ ส่งลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรม ซึ่งทำให้บริษัทฯ มีสิทธิหักเป็นค่าใช้จ่ายได้เป็นจำนวน 2 เท่าของค่าใช้จ่ายนั้น ต้องเป็นการส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมในสถานศึกษาที่ทางราชการของประเทศไทยจัดตั้งขึ้น หรือ สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชนหรือสถานฝึก อบรมฝีมือแรงงานเฉพาะที่มีฐานะเป็นมูลนิธิ สมาคม บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายเฉพาะและการ ให้บริการการศึกษาหรือฝึกอบรมต้องเป็นการศึกษาหรือฝึกอบรมในประเทศไทย เพื่อพัฒนาคุณภาพ ความรู้ความสามารถ ทักษะ ฝีมือของ ลูกจ้างให้สูงขึ้น ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ของกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นนายจ้าง ตามมาตรา 4 (1) แห่งพระราช กฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548 ประกอบกับข้อ 3 และข้อ 4 ของ ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดสถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่รับลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เข้าศึกษาหรือฝึกอบรม ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 กรณีใบเสร็จรับเงินที่สถาบันการศึกษาระบุชื่อพนักงาน หากบริษัทฯ พิสูจน์ ได้ว่า ค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้จ่ายไปเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของบริษัทฯ ย่อมถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร และไม่ถือเป็นประโยชน์เพิ่มของพนักงานผู้เข้ารับการศึกษาดังกล่าว 2. กรณีตาม 2. และ 3. การทำสัญญาการกำหนดเงื่อนไข ระหว่างบริษัทฯ กับพนักงานนั้นบริษัทฯ เป็นผู้พิจารณากำหนดโดยคำนึงถึงประโยชน์ของกิจการ ทั้งนี้ บริษัทฯ ต้องมีการกำหนดเงื่อนไข ให้พนักงานกลับเข้าทำงานให้แก่บริษัทฯ หลังจากสำเร็จการศึกษาหรือผ่านการฝึกอบรมแล้ว ตามข้อ 9 ของประกาศกระทรวงการคลังฯ ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ดังนั้น หากพนักงานไม่สามารถอยู่ปฏิบัติงานได้ครบตามสัญญาหรือลาออกก่อนจบการศึกษา บริษัทฯ จะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้ของบริษัทฯ เป็นจำนวนร้อยละร้อยของรายจ่ายที่ได้จ่ายไป ตามพระราช กฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548 ประกอบกับประกาศกระทรวงการคลังฉบับดังกล่าว ดังนั้น บริษัทฯ จึงต้องยื่นแบบแสดงรายการ เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม เพื่อปรับปรุงการใช้สิทธิหักค่าใช้จ่ายจำนวนสองเท่าดังกล่าว สำหรับค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่บริษัทฯ ได้จ่ายไป ไม่ถือเป็นประโยชน์เพิ่มของพนักงานผู้เข้ารับการศึกษา ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0702/9616 ลงวันที่ 08 ธันวาคม 2554 |