รายจ่าย ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีหลักฐานการหักค่าธรรมเนียมการโอนเงินในระบบ GFMIS
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีหลักฐานการหักค่าธรรมเนียมการโอนเงินในระบบ GFMISข้อเท็จจริงกรณีรัฐบาลได้นำระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยระบบ อิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) มาใช้ และกำหนดให้มีการเบิกจ่ายเงินให้เจ้าหนี้หรือผู้มี สิทธิรับเงินโดยวิธีการจ่ายตรงเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ขาย ซึ่งการโอนเงิน เข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ขายมี 2 วิธี คือ ผ่านระบบ Bahtnet ใช้สำหรับการ โอนเงินมากกว่า 500,000 บาทต่อรายการ และผ่านระบบ Smart ใช้กับการโอนเงิน ไม่เกิน 500,000 บาทต่อรายการ เนื่องจากการโอนเงินดังกล่าวมีค่าธรรมเนียม ธนาคารเกิดขึ้น ซึ่งผู้ขายจะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายดังกล่าว ดังนั้น จำนวนเงินที่ ผู้ขายจะได้รับหลังจากถูกหักค่าธรรมเนียมแล้ว จึงไม่ตรงกับใบเสร็จรับเงินที่ออก ด้วยจำนวนเต็มให้กับส่วนราชการหรือหน่วยงานภาครัฐ ทำให้ผู้ขายประสบปัญหา การนำเอกสารไปบันทึกรายการบัญชีค่าธรรมเนียม เนื่องจากค่าธรรมเนียมที่เกิด จากการโอนเงินผ่านระบบ Smart ธนาคารจะไม่ออกหลักฐานการหักเงิน ค่าธรรมเนียมให้ โดยมีค่าธรรมเนียมรายการละ 10 บาททุกรายการ (การโอนเงิน ผ่านระบบ Bahtnet ธนาคารปลายทางจะออกหลักฐานให้แก่ผู้ขาย) หารือว่า เจ้าหนี้ หรือผู้มีสิทธิรับเงินจะสามารถจัดทำหนังสือรับรองตัวเองว่า ได้จ่ายค่าธรรมเนียม การโอนเงินเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการบันทึกรายการบัญชีค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียม โอนเงินของเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงินได้หรือไม่ และการใช้หลักฐานดังกล่าวจะ ขัดแย้งกับประมวลรัษฎากรหรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 65 ตรี (18)แนววินิจฉัยกรณีกรม บ. โอนเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) โดยมีข้อตกลงการ โอนเงินเข้าบัญชีเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงินของส่วนราชการโดยตรง และธนาคารจะ คิดค่าธรรมเนียมการโอนเงินกับเจ้าหนี้ของส่วนราชการซึ่งเป็นผู้รับปลายทาง ต่อมา กระทรวงการคลังได้กำหนดให้เจ้าหนี้ของส่วนราชการรับภาระค่าธรรมเนียมการ โอนเงินดังกล่าว กรณีธนาคารในฐานะผู้รับเงินค่าธรรมเนียมการโอนเงินที่มีจำนวน ไม่ถึงเกณฑ์หรือไม่อยู่ในบังคับต้องออกใบรับตามมาตรา 105 และมาตรา 106 แห่ง ประมวลรัษฎากร แต่เพื่อเป็นหลักฐานในการลงรายจ่ายอีกทั้งเพื่อประโยชน์ในการ คำนวณกำไรสุทธิ เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงินต้องให้ธนาคารผู้รับเงินออก ใบเสร็จรับเงินหรือเอกสารหลักฐานที่ระบุรายการ ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสีย ภาษีอากรของผู้รับเงิน หากธนาคารผู้รับเงินไม่ออกหลักฐานการรับเงินดังกล่าวให้ เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงินอาจทำหลักฐานการจ่ายเงิน เช่น ใบสำคัญจ่าย ระบุชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร วันเดือนปี จำนวนเงิน รายการที่จ่ายและให้ธนาคาร ผู้รับเงินลงชื่อรับไว้ เพื่อเป็นหลักฐานในการหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (18) แห่งประมวลรัษฎากร ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/8709 ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2548 |