รายจ่าย ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีรายจ่ายค่าที่ปรึกษา
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีรายจ่ายค่าที่ปรึกษาข้อเท็จจริงบริษัท ม. แจ้งว่า ในการควบรวมธุรกิจเข้าด้วยกันของผู้ผลิตเหล็กเส้นรายใหญ่ของประเทศ จำนวน 3 ราย ได้แก่ บริษัท ส. บริษัท ล. และบริษัท อ. บริษัทฯ ได้จ้างบริษัท M แห่งประเทศ สหรัฐอเมริกาเป็นที่ปรึกษาในการหาวิธีที่ดีที่สุดที่จะควบรวมธุรกิจเหล็กเส้นโดยทำสัญญาจ้างกำหนด เงื่อนไขว่า บริษัทฯ ในฐานะผู้ว่าจ้างจะจ่ายค่าจ้างให้ M ต่อเมื่อมีการนำวิธีการที่ M เสนอไปใช้จน สามารถควบรวมธุรกิจเหล็กเส้นได้สำเร็จเท่านั้น แต่ถ้าวิธีการที่ M เสนอไม่สามารถทำให้เกิดการควบ รวมธุรกิจเหล็กเส้นได้สำเร็จ บริษัทฯ จะไม่จ่ายค่าจ้างใด ๆ ให้ M เลย ซึ่งการดำเนินงานในฐานะ ที่ปรึกษาดังกล่าว M ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2543 เพื่อศึกษาสภาพธุรกิจ และปัญหาของบริษัทที่จะเข้าควบรวมธุรกิจ วิธีการและความเป็นไปได้ในการควบรวมธุรกิจเหล็กเส้น เพื่อเสนอวิธีที่ดีที่สุดที่จะควบรวมธุรกิจเหล็กเส้นให้แก่บริษัทฯ จนกระทั่งปี 2545 บริษัทฯ จึงได้นำวิธีที่ M แนะนำไปใช้และสามารถควบรวมธุรกิจเหล็กเส้นสำเร็จสมบูรณ์ในปลายปี 2545 บริษัทฯ จึงจ่าย ค่าที่ปรึกษาให้ M ประมาณ 500 ล้านบาท บริษัทฯ เข้าใจว่า การที่บริษัทฯ จ่ายค่าที่ปรึกษาให้ M สำหรับคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีควบรวมธุรกิจเหล็กเส้นซึ่งเป็นความรู้ที่ทำให้บริษัทฯ สามารถประกอบกิจการ ต่อไปได้นานเกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี รายจ่ายค่าที่ปรึกษาดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นรายจ่ายที่มี ลักษณะเป็นการลงทุน จึงต้องห้ามหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิทั้งจำนวนในรอบระยะเวลาบัญชี ที่บริษัทฯ จ่าย ถูกต้องหรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 65 ตรี (13)แนววินิจฉัยรายจ่ายค่าที่ปรึกษาในการควบรวมธุรกิจเหล็กเส้นตามข้อเท็จจริงข้างต้น มิใช่รายจ่ายเพื่อให้ ได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทนแก่กิจการเกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งเป็น รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน แต่รายจ่ายค่าที่ปรึกษาดังกล่าวเป็นรายจ่ายในการดำเนินงาน หรือ รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ บริษัทฯ มีสิทธินำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณ กำไรสุทธิได้ทั้งจำนวน ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/6174 ลงวันที่ 02 กรกฎาคม 2546 |