รายจ่าย ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีค่าธรรมเนียมการเป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้า
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีค่าธรรมเนียมการเป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้าข้อเท็จจริงบริษัทฯ จ่ายเงินค่าธรรมเนียมการจัดจำหน่ายให้แก่บริษัท ฟ. และบริษัท ม.บริษัทฯ จะนำ เงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิได้หรือไม่ โดยมี ข้อเท็จจริงว่าบริษัทฯ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายอะไหล่รถยนต์จากบริษัท ฟ. และบริษัท ม. โดย มีเงื่อนไขในการเป็นตัวแทนจำหน่าย คือ บริษัทฯ จำหน่ายอะไหล่รถยนต์ให้เฉพาะดีลเลอร์รถยนต์ และ ผู้จำหน่ายอะไหล่ทั่วไปที่มีสัญญาข้อตกลงกับบริษัท ฟ. และ ม. เท่านั้น และบริษัท ฟ. และบริษัท ม. จะ มีส่วนร่วมในการกำหนดราคาจำหน่ายอะไหล่รถยนต์และกำหนดปริมาณอะไหล่รถยนต์แต่ละรุ่นที่บริษัท ทั้งสองจำหน่ายในประเทศไทย ด้วยข้อจำกัดตามเงื่อนไขดังกล่าวทำให้การคำนวณรายได้จากการเป็น ตัวแทนจำหน่ายมีวิธีการคำนวณดังนี้ รายได้จากการขายอะไหล่ XX หัก ต้นทุนสินค้า XX ค่าใช้จ่ายจริงที่ตกลงกัน XX ค่าตอบแทนการเป็นตัวแทนให้บริษัทฯ XX XX รายได้ส่วนเกิน (ส่วนขาด) XX จากการคำนวณรายได้หักต้นทุนที่เกี่ยวข้องที่ตกลงกันและหักค่าตอบแทนการเป็นตัวแทนให้บริษัทฯ แล้ว หากมีรายได้ส่วนเกินบริษัทฯ ต้องจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวคืนแก่บริษัท ฟ. และบริษัท ม. โดยบริษัทฯ สามารถลงเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและบริษัททั้งสองต้องรับรู้เป็น รายได้ แต่ในทางกลับกันหากมีส่วนขาดบริษัท ฟ. และ บริษัท ม. จะต้องเป็นผู้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าว ให้แก่บริษัทฯ ซึ่งบริษัทฯ ต้องรับรู้เป็นรายได้ตามเกณฑ์สิทธิส่วนบริษัททั้งสองสามารถถือเป็นรายจ่ายได้ การคำนวณรายได้ข้างต้นต้องทำการคำนวณทุกเดือนโดยไม่ต้องรอผลการดำเนินงานสิ้นปี และจะไม่มีการ หักค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน ค่าดอกเบี้ยรับ และค่าดอกเบี้ยจ่ายของกิจการแต่อย่างใด ดังนั้น บริษัทฯ เข้าใจว่าเงินรายได้ส่วนเกินที่บริษัทฯ ต้องจ่ายคืนให้บริษัททั้งสอง มิได้เป็นรายจ่ายที่กำหนดจ่ายจากผลกำไร ที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 65 ตรี (19) แห่งประมวลรัษฎากร กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 65 ตรี (19)แนววินิจฉัยกรณีบริษัทฯ คำนวณรายได้จากการเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายอะไหล่รถยนต์ โดยคำนวณจาก รายได้จากการขายอะไหล่หักด้วยต้นทุนสินค้า ค่าใช้จ่ายจริงที่ตกลงกัน (ค่าใช้จ่ายโดยตรงในการบริหาร งาน เช่น เงินเดือน ค่าใช้จ่ายสำนักงานของแผนกจัดจำหน่ายอะไหล่รถยนต์ เป็นต้น) และค่าตอบแทน การเป็นตัวแทนให้บริษัททั้งสอง และต้องคำนวณทุกเดือนไม่ต้องรอถึงสิ้นปี ซึ่งผลคำนวณอาจมีรายได้ส่วน เกิน หรือรายได้ส่วนขาด หากมีรายได้ส่วนเกินบริษัทฯ ต้องจ่ายคืนให้บริษัททั้งสอง รายได้ส่วนเกิน ดังกล่าวจึงมิได้กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี บริษัทฯ จึงนำไปหักเป็น รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (19) แห่งประมวลรัษฎากร ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/4008 ลงวันที่ 29 เมษายน 2546 |