รายจ่าย ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีค่าธรรมเนียมการเป็นผู้แทนจัดจำหน่ายสินค้าอะไหล่รถยนต์
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีค่าธรรมเนียมการเป็นผู้แทนจัดจำหน่ายสินค้าอะไหล่รถยนต์ข้อเท็จจริงบริษัทฯ ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่ม ธุรกิจหลักคือการให้ คำแนะนำด้านการบริหารการเงิน รวมทั้งการจัดทำบัญชี และงานบริหารอื่น ๆ ให้ แก่บริษัทในกลุ่มฯ ทั้งในและต่างประเทศ ต่อมาบริษัท ก. (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ข. (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ธุรกิจหลักคือการจัดจำหน่ายรถยนต์และอะไหล่รถยนต์สำหรับรถ 2 ยี่ห้อ บริษัททั้ง 2 เป็นบริษัทในกลุ่มฯ ได้ตกลงร่วมกันแต่งตั้งให้บริษัทฯ เป็นผู้แทนจำหน่ายอะไหล่รถยนต์แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย บริษัทฯ จะมีหน้าที่ในการจัดหาอะไหล่รถยนต์ทั้งในและต่างประเทศจากผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าที่ได้รับการรับรอง มาตรฐานจากลุ่มบริษัทฯ โดยบริษัทฯ สามารถจัดจำหน่ายอะไหล่รถยนต์ดังกล่าวให้แก่ตัวแทนจำหน่าย (Cars Dealers) และผู้จำหน่ายอะไหล่แท้ทั่วไป แต่ไม่สามารถขายให้กับผู้อื่น จากการนี้บริษัทฯ จะได้ รับค่าตอบแทนในอัตราที่เหมาะสมต่อความเสี่ยงของบริษัทฯ ซึ่งจะกำหนดจากค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการ เป็นผู้แทนจัดจำหน่ายโดยตรงบวกด้วยอัตราผลตอบแทนที่บริษัททั้ง 2 ได้ร่วมกันพิจารณาและเห็นว่าเป็น อัตราผลตอบแทนที่เป็นอัตราตลาด ในปีใด ๆ ที่บริษัทฯ ได้รับกำไรจากการดำเนินการจัดจำหน่ายสูงกว่า ค่าตอบแทนที่บริษัทฯ คำนวณได้ บริษัทฯ จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมสำหรับการได้รับสิทธิจัดจำหน่ายอะไหล่ รถยนต์ให้กับบริษัททั้ง 2 นอกจากนี้บริษัททั้ง 2 มีเงื่อนไขที่จะเข้ามีส่วนร่วมในการกำหนดราคาและ ปริมาณอะไหล่รถยนต์แต่ละรุ่น ซึ่งการเข้าร่วมในการบริหาร สินค้าคงเหลือดังกล่าวอาจทำให้เกิดผล ขาดทุนเมื่อเทียบกับกรณีที่บริษัทฯ จะมีอิสระในการกำหนดราคาและปริมาณสินค้าคงเหลือเองได้ ดังนั้น บริษัททั้ง 2 จึงตกลงที่จะจ่ายเงินชดเชยหรือเงินสนับสนุนการขายให้แก่บริษัทฯ โดยคำนวณจากผล ประกอบการจากการดำเนินงานเฉพาะของแผนกจัดจำหน่ายอะไหล่รถยนต์ของบริษัทฯ หักด้วยค่าตอบแทน ที่บริษัทฯ จะต้องได้รับตามสัญญาแต่งตั้งตัวแทน และหากแผนกจัดจำหน่ายอะไหล่รถยนต์มีผลขาดทุน บริษัทฯ จะได้รับเงินสนับสนุนเท่ากับผลขาดทุนดังกล่าว บริษัทฯ จึงหารือว่า 1. บริษัทฯ จะต้องนำเงินชดเชยหรือเงินสนับสนุนการขายที่ได้รับจากบริษัททั้ง 2 เป็นรายได้ ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร และเงิน จำนวนดังกล่าวถือเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจการของบริษัททั้ง 2 ถูกต้องหรือไม่ 2. บริษัททั้ง 2 ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมการได้รับสิทธิจัดจำหน่ายที่ได้รับจากบริษัทฯ เป็น รายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร และ บริษัทฯ นำรายจ่ายค่าธรรมเนียมฯ ดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) และ (19) แห่งประมวลรัษฎากร ถูกต้องหรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 65, มาตรา 65 ตรี (13)(19)แนววินิจฉัย1. เงินชดเชยหรือเงินสนับสนุนการขายในกรณีแผนกจัดจำหน่ายอะไหล่รถยนต์ของบริษัทฯ มี ผลขาดทุน ที่บริษัทฯ ได้รับจากบริษัท ก. และบริษัท ข. ถือเป็นรายได้เนื่องจากกิจการที่กระทำใน รอบระยะเวลาบัญชีที่บริษัทฯ ต้องนำมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ตาม มาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร และเงินชดเชยหรือเงินสนับสนุนจำนวนดังกล่าวซึ่งบริษัททั้ง 2 ต้อง จ่ายให้บริษัทฯ ซึ่งจะสามารถลดต้นทุนการคงปริมาณอะไหล่รถยนต์ที่สามารถใช้ร่วมกันสำหรับรถ 2 ยี่ห้อ ทำให้การจำหน่ายมีประสิทธิภาพ การจ่ายเงินให้บริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้รับและมีข้อผูกพันจะต้องกระทำการ อย่างใดอย่างหนึ่งตอบแทน ถือเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ บริษัททั้ง 2 นำมาถือ เป็นรายจ่ายได้ ไม่ต้องห้าม ตามมาตรา 65 ตรี (13)แห่งประมวลรัษฎากร 2. บริษัททั้ง 2 ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมการได้รับสิทธิจัดจำหน่ายอะไหล่รถยนต์ที่ได้รับจาก บริษัทฯ มารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิตามมาตรา 65 แห่ง ประมวลรัษฎากร และเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวที่บริษัทฯ ต้องจ่ายในกรณีที่แผนกจัดจำหน่ายอะไหล่ รถยนต์มีผลกำไรเกินกว่าค่าตอบแทนที่บริษัทฯ จะได้รับ โดยกำหนดจ่ายเมื่อแผนกจัดจำหน่ายอะไหล่ รถยนต์มีผลกำไร เงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวถือเป็นรายจ่ายที่กำหนดจ่ายจากผลกำไร จึงมิให้นำมาเป็น รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (19)แห่งประมวลรัษฎากร ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/6269 ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2544 |