Skip to Content

รายจ่าย ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการโอนสิทธิในบัตรภาษีให้แก่บุคคลอื่น

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการโอนสิทธิในบัตรภาษีให้แก่บุคคลอื่น


ข้อเท็จจริง

บริษัท อ. ซึ่งเป็นผู้ประกอบการส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศ ได้รับ

สิทธิในการขอรับเงินชดเชยจากการส่งออกจากกรมศุลกากร ในรูปของบัตรภาษี

และด้วยเหตุผลทางธุรกิจ บริษัทฯ ได้ทำบันทึกข้อตกลงกับบริษัท ท. ซึ่งเป็นผู้ผลิต

และขายสินค้าไว้ว่า ถ้าบริษัทฯซื้อสินค้าเพื่อจะส่งออกไปขายยังต่างประเทศบริษัท

ท. จะขายสินค้าให้กับบริษัทฯ ในราคาซึ่งได้คำนวณหักจำนวนเงินภาษีที่จะได้รับ

คืนจากกรมศุลกากร ทั้งนี้ เพื่อให้บริษัทฯ สามารถส่งสินค้าไปขายยังต่างประเทศ

และสู้ราคากับผู้ขายรายอื่น ๆ ในต่างประเทศได้ โดยมีเงื่อนไขว่า หากบริษัทฯ ส่ง

สินค้าที่ซื้อจากบริษัท ท. ไปขายยังต่างประเทศ และได้รับเงินชดเชยจากการ

ส่งออก (บัตรภาษี) จากกรมศุลกากร บริษัทฯ จะต้องโอนสิทธิในบัตรภาษีทั้งหมดที่

ได้รับคืนให้แก่บริษัท ท.


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 65 ตรี (3)

แนววินิจฉัย

1. กรณีบริษัทฯ ผู้ส่งออกได้รับเงินชดเชยจากการส่งออกในรูปของบัตร

ภาษีตามกฎหมายว่าด้วยการชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตใน

ราชอาณาจักร บริษัทฯ จะต้องรับรู้มูลค่าของบัตรภาษีเป็นรายได้ของบริษัทฯ ใน

รอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับบัตรภาษี ตามหลักเกณฑ์สิทธิตามมาตรา 65 แห่ง

ประมวลรัษฎากร ถึงแม้บริษัทฯ ไม่ได้เป็นผู้รับเงินชดเชยจากการส่งออก (บัตร

ภาษี) ก็ตาม แต่เมื่อบริษัทฯ โอนสิทธิในการรับเงินชดเชยจากการส่งออก (บัตร

ภาษี) ให้แก่บริษัท ท. บริษัทฯ มีสิทธินำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงิน

ได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด

2. สำหรับบริษัท ท. จะต้องนำเงินชดเชยจากการส่งออก (บัตรภาษี) ที่

ได้รับจากบริษัทฯ ไปรับรู้เป็นรายได้ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา

65 แห่งประมวลรัษฎากร




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/8605 ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2548

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)