รายจ่าย ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักรายจ่ายดอกเบี้ยตราสารหนี้
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักรายจ่ายดอกเบี้ยตราสารหนี้ข้อเท็จจริงธนาคารฯ มีความประสงค์จะออกหุ้นบุริมสิทธิ์ชนิดไม่สะสมเงินปันผลขายควบคู่กับหุ้นกู้ให้แก่ นักลงทุนในต่างประเทศ เพื่อให้ธนาคารฯ สามารถบันทึกรายการกู้ยืมเงินจากการขายหุ้นกู้ดังกล่าวเป็น เงินกองทุนขั้นที่ 1 ตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ทั้งนี้ เพื่อช่วยเหลือฐานะทาง การเงินธนาคารฯ โดยมีขั้นตอนสรุปได้ ดังนี้ 1. ธนาคารฯ โดยสาขาในต่างประเทศ ("สาขา") จะออกหุ้นกู้ขายให้แก่นักลงทุนใน ต่างประเทศเป็นเงินสกุลต่างประเทศที่อัตราดอกเบี้ยที่คำนวณจากผลตอบแทนของตั๋วเงินคลัง สหรัฐอเมริกา คูณด้วยเปอร์เซนต์ของเงินต้นต่อปี โดยอาจไถ่ถอนคืนได้ ตามข้อกำหนดของหุ้นกู้ดังกล่าว ธนาคารฯ จะต้องชำระดอกเบี้ยให้แก่นักลงทุนปีละ 2 งวด ในอัตราที่กำหนด อย่างไรก็ดี ธนาคารฯ จะ ได้รับผ่อนผันไม่ต้องชำระดอกเบี้ย หากธนาคารฯ มีกำไรไม่เพียงพอและไม่ปรากฏว่ามีเงินปันผลจ่ายให้ แก่ผู้ถือหุ้นสามัญของธนาคารฯ โดยในกรณีที่มีการไถ่ถอนหุ้นกู้ ธนาคารฯ จะต้องชำระเงินต้นตามราคา หน้าตั๋วคืนให้แก่ผู้ทรงหุ้นกู้ในขณะนั้น บวกด้วยอัตราผลตอบแทนของตั๋วเงินคลังของสหรัฐอเมริกา 2. ธนาคารฯ ได้รับอนุมัติจากธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงพาณิชย์ ตามหนังสือ ของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การพิจารณาตราสารที่นับเป็นเงินกองทุนขั้นที่ 1 ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2541 และหนังสือจากกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การกำหนดสภาพของหุ้นบุ ริมสิทธิ์ ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2541 อนุมัติให้ธนาคารฯ บันทึกบัญชีการกู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นเงินกองทุน ขั้นที่ 1 ตามกฎหมายโดยธนาคารฯ จะต้องออกหุ้นบุริมสิทธิ์จำนวนหนึ่งในราคาพรีเมี่ยม ซึ่งเท่ากับมูลค่า หุ้นกู้ข้างต้น เพื่อขายให้แก่นักลงทุนในต่างประเทศ หุ้นบุริมสิทธิ์จะมีสิทธิออกเสียงและสิทธิพิเศษในการได้ รับเงินปันผลในอัตราที่เท่ากับอัตราดอกเบี้ยจ่ายตามตราสารหนี้ และจะได้รับเงินคืนทุนเมื่อมีการชำระ บัญชีก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ แต่เนื่องจากโดยแท้จริงแล้วธนาคารฯ ไม่ประสงค์ที่จะออกหุ้นบุริมสิทธิ์ดังกล่าวให้ แก่นักลงทุนแต่อย่างใด ดังนั้น ทันทีที่มีการสั่งซื้อหุ้นบุริมสิทธิ์ ธนาคารฯ จะคืนเงินค่าหุ้นบุริมสิทธิ์ให้แก่นัก ลงทุนโดยนักลงทุนตกลงที่จะไม่ใช้สิทธิออกเสียงและจะสละสิทธิพิเศษของหุ้นบุริมสิทธิ์ดังกล่าว เพื่อการนี้ ข้อบังคับของธนาคารฯ ที่ยื่นขอแก้ไขกับกระทรวงพาณิชย์จะระบุไว้โดยชัดเจนว่าหุ้นบุริมสิทธิ์ จะมีสิทธิได้ รับเงินปันผลเพียง 1 บาท หากได้มีการชำระดอกเบี้ยในหุ้นกู้เต็มจำนวนแล้ว และจะไม่ได้รับสิทธิพิเศษ ในการคืนทุนเมื่อมีการชำระบัญชีหากได้มีการไถ่ถอนหุ้นกู้ และคืนเงินต้นให้แก่ผู้ทรงหุ้นกู้เต็มจำนวนแล้ว อนึ่ง ในกรณีที่มีการไถ่ถอนหุ้นกู้และชำระเงินต้นคืนเต็มจำนวนแล้ว หุ้นบุริมสิทธิ์ดังกล่าวจะยังคงอยู่ต่อไป และอาจถูกแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ สิทธิของผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์หลังจากการแปลงสภาพ จะเทียบเท่ากับ สิทธิตามปกติที่ผู้ถือหุ้นสามัญพึงได้รับ 3. ธนาคารแห่งประเทศไทยได้พิจารณาอนุมัติให้ธนาคารฯ บันทึกธุรกรรมข้างต้น เป็น เงินกองทุนขั้นที่ 1 ตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 และตามระเบียบที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ โดยมีเงื่อนไขว่าหุ้นกู้ และหุ้นบุริมสิทธิ์จะต้องแยกต่างหากจากกันได้ โดยหุ้นบุริมสิทธิ์จะยังคงอยู่ต่อไป แม้ว่าจะได้มีการไถ่ถอนหุ้นกู้แล้วก็ตาม นอกจากนี้ตามมาตรฐานทางการบัญชีที่ยอมรับกันทั่วไป ธนาคารฯ จะบันทึกรายการข้างต้นเป็นรายการประเภทที่อยู่ระหว่างหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้นในงบดุลรวมของ ธนาคารฯ โดยสาขาฯ ของธนาคารฯ จะยังคงบันทึกหุ้นกู้ดังกล่าวเป็นหนี้สินในงบดุลของสาขาฯ ต่อไป ธนาคารฯ ขอทราบว่า เมื่อสาขาฯ ชำระดอกเบี้ยให้แก่ผู้ทรงหุ้นกู้ ธนาคารฯ มีสิทธิ์บันทึก รายการดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นรายจ่ายของสาขาฯ ซึ่งนำมาตัดเป็นรายจ่ายในการคำนวณ ภาษีเงินได้นิติบุคคลของธนาคารฯ ในปีภาษีที่ดอกเบี้ยนั้นถึงกำหนดชำระได้ถูกต้องหรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 65แนววินิจฉัยกรณีตามข้อเท็จจริง สาขาฯ ได้ทำการออกหุ้นกู้ให้แก่นักลงทุน และได้ชำระดอกเบี้ยตาม หุ้นกู้ดังกล่าวจริง โดยได้รับอนุมัติจากธนาคารแห่งประเทศไทย และโดยที่การออกหุ้นบุริมสิทธิ์ดังกล่าว เป็นเพียงเพื่อประโยชน์ให้ธนาคารฯ สามารถบันทึกเป็นเงินกองทุนขั้นที่ 1 ได้ เท่านั้น โดยธนาคารฯ ยังคงมีหน้าที่ที่จะต้องชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยตามข้อกำหนดเช่นเดียวกับการกู้ยืมเงินทุกประการ ดังนั้น เมื่อสาขาฯ ของธนาคารฯ ได้ชำระดอกเบี้ยให้แก่ผู้ทรงหุ้นกู้ในอัตราที่คำนวณจากตั๋วเงินคลัง สหรัฐอเมริกา ตามที่ได้ระบุไว้ในข้อกำหนดหุ้นกู้ สาขาฯ สามารถนำดอกเบี้ยดังกล่าวมาเป็นรายจ่ายของ สาขาฯ ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของธนาคารฯ ในประเทศไทยได้ตามเกณฑ์ สิทธิแห่งมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากรแม้ว่าธนาคารฯ จะบันทึกธุรกรรมดังกล่าวเป็นทุนเพื่อประโยชน์ ในการคำนวณเงินกองทุนขั้นที่ 1 ทางบัญชีก็ตาม แต่ทั้งนี้ ดอกเบี้ยจ่ายดังกล่าวจะต้องมีจำนวนไม่เกินกว่า อัตราดอกเบี้ยอันสมควรในท้องตลาดที่คิดจากเงินสกุลเดียวกันภายใต้เงื่อนไขเช่นเดียวกันนั้น ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/13821 ลงวันที่ 22 กันยายน 2541 |