Skip to Content

รายจ่าย ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักค่าใช้จ่ายผลขาดทุนจากเงินลงทุน ราย บริษัท ท.จำกัด

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักค่าใช้จ่ายผลขาดทุนจากเงินลงทุน ราย บริษัท ท.จำกัด


ข้อเท็จจริง

สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ ได้แจ้งผลการตอบข้อหารือของกรมสรรพากรให้บริษัท ท. จำกัด

ทราบแล้วว่า ผลเสียหายเนื่องจากการลงทุนของบริษัทฯ ในบริษัท น. จำกัด บริษัทฯ สามารถนำมาลง

เป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่บริษัท น. ได้จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี ไม่ต้องห้ามตามมาตรา

65 ตรี (12) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร ต่อมาบริษัทฯ ได้ชี้แจงและแสดงหลักฐานเพิ่มเติมว่า

บริษัท น. ที่บริษัทฯ ได้ลงทุนไปนั้นประสบภาวะขาดทุนได้เลิกกิจการ และตกเป็นบุคคลล้มละลายตาม

คำพิพากษาของศาล เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2534 และ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ปิดคดีนี้แล้วตั้งแต่วันที่

25 พฤศจิกายน 2534 ซึ่งสำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ เห็นว่า เมื่อบริษัท น. ได้ถูกศาลพิพากษาให้

ล้มละลายและมีคำสั่งให้ปิดคดีในปี พ.ศ.2534 บริษัทฯ ย่อมนำผลขาดทุนจากเงินลงทุนมาถือเป็นรายจ่าย

ในปี พ.ศ.2534 ได้

สำนักงานสรรพากรภาค เห็นว่า บริษัทฯ สามารถนำผลเสียหายจากการลงทุนในบริษัท น.

มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ศาลได้มีคำสั่งปิดคดีในปี พ.ศ.2534

ได้


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 133 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483, มาตรา 1247 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, มาตรา 65 ตรี (12) และ (13)

แนววินิจฉัย

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า บริษัท น. ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทและศาลแพ่งได้มี

คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด บริษัท น. มีผลให้อำนาจการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินและหนี้สิน บริษัท น.ของ

ผู้ชำระบัญชีไปสู่การจัดการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483

เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ดำเนินการจนไม่มีทรัพย์สินของลูกหนี้ (จำเลย)จะให้แบ่งแก่เจ้าหนี้ในคดี

จนศาลแพ่งได้มีคำพิพากษาให้บริษัท น. ล้มละลาย เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2534 และศาลแพ่งได้มีคำสั่ง

อนุญาตให้ปิดคดีนี้แล้วตามมาตรา 133 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ตั้งแต่ วันที่ 25

พฤศจิกายน 2534 การดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินและ หนี้สินของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามกฎหมาย

ล้มละลายดังกล่าว จึงถือเป็นการชำระบัญชีบริษัทจำกัดซึ่งล้มละลายนั้นแล้ว ทั้งนี้ ตามมาตรา 1247 แห่ง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น หากบริษัทฯ ไม่ได้รับการคืนเงินตามมูลค่าหุ้นที่ลงทุนไป และ

บริษัทฯ มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ เพื่อแสดงว่าบริษัทฯ ได้รับความเสียหายเนื่องจากการลงทุนของบริษัทฯ

จริง บริษัทฯ สามารถนำผลเสียหายนั้นมาลงเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่ศาลแพ่งมีคำสั่งอนุญาต

ให้ปิดคดีได้ ไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (12) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร แต่หาก

ภายหลังบริษัทฯ ได้รับชำระเงินค่าหุ้นคืน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนในรอบระยะเวลาบัญชีใด ก็ให้นำเงิน

ที่ได้รับชำระนั้นลงเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นด้วย




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/9067 ลงวันที่ 17 กันยายน 2544

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)