Skip to Content

รายจ่าย ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการปรับปรุงรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการปรับปรุงรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล


ข้อเท็จจริง

บริษัท ก. จำกัด ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยอาศัยอำนาจ

ตามความในมาตรา 7 และมาตรา 90 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.

2535 ให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ตามประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล โดยจะต้องชำระ

ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ค่าธรรมเนียม) ปี

ละ 1,000,000 บาท เว้นแต่ในปีแรกให้คิดค่าธรรมเนียมเฉลี่ยตามระยะเวลาที่เหลืออยู่ในปีปฏิทินที่ได้มี

การออกใบอนุญาตนั้น

ดังนั้น ตามความในวรรคแรก ค่าธรรมเนียมของปี 2540 (สำหรับรอบระยะเวลาตั้งแต่

วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2540 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2540 คิดเป็น 292 วัน) บริษัทฯ ได้ชำระไป

แล้วเป็นจำนวนเงิน 800,000 บาท และได้บันทึกค่าธรรมเนียมทั้งจำนวนเป็นรายจ่ายในการคำนวณ

กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2540 ซึ่งผ่านการตรวจสอบโดย

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และบริษัทฯ ได้ยื่นนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี 2540 ให้กรมสรรพากรเป็นที่

เรียบร้อยแล้วตามที่กฎหมายกำหนด

แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2541 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออก

กฎกระทรวงฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2541) อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 และมาตรา 90 วรรคสี่

แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ให้ยกเลิกความในข้อ 12 แห่ง

กฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2539) โดยกำหนดอัตราและวิธีการคิดค่าธรรมเนียมรายปีขึ้นใหม่แทน

วิธีการคิดแบบเดิม อีกทั้งยังให้มีผลใช้บังคับย้อนหลังด้วย

1. รอบสิบสองเดือนที่หนึ่ง 300,000 บาท

2. รอบสิบสองเดือนที่สอง 600,000 บาท

3. รอบสิบสองเดือนต่อ ๆ ไป รอบละ 1,000,000 บาท

ผลจากการที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2541) ให้ใช้บังคับย้อนหลังนั้นส่งผลทำให้

ค่าธรรมเนียมซึ่งคำนวณตามอัตราใหม่ของปี 2540 (สำหรับระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.

2540 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2540 คิดเป็น 292 วัน) ลดลงจาก 800,000.00 บาท ตามอัตราเดิม

เหลือเพียง 240,000 บาท เท่านั้น ซึ่งเป็นเหตุให้ค่าธรรมเนียมที่เคยเกิดขึ้นแล้วในปี 2540 สูงไป

560,000 บาท

บริษัทฯ ขอทราบดังนี้

1. บริษัทฯ ถือเอารายจ่ายค่าธรรมเนียมของปี 2540 เป็นจำนวนเงิน 800,000 บาท ที่

กำหนดตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2539) (ก่อนถูกยกเลิกและให้มีผลใช้บังคับย้อนหลังโดย

กฎกระทรวง ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2541)) ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นถือเป็นรายจ่ายเพื่อคำนวณกำไรสุทธิเพื่อ

เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี ปี 2540 ทั้งจำนวนถูกต้องแล้วใช่หรือไม่ (ถ้าในกรณี

ไม่ถูกต้องจะต้องดำเนินการปรับปรุงรายจ่ายค่าธรรมเนียมเพื่อคำนวณกำไรสุทธิเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี ปี 2540 อย่างไร และถ้ามีภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเติมบริษัทฯ จะต้องชำระ

เบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มด้วยหรือไม่)

2. หลังจากการที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2541) ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 7

สิงหาคม พ.ศ.2541 ให้มีผลใช้บังคับย้อนหลังจึงส่งผลทำให้บริษัทฯ บันทึกรายจ่ายค่าธรรมเนียมของปี

2540 สูงไป 560,000 บาท ดังนั้น บริษัทฯ ได้ปรับปรุงรายการดังกล่าวโดยนำไปหักกลบกับ

ค่าธรรมเนียมของปี 2541 ทั้งจำนวนถูกต้องแล้วใช่หรือไม่ และหากไม่ถูกต้องจะต้องดำเนินการปรับปรุง

รายการอย่างไร


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 65, มาตรา 65 ตรี, มาตรา 65 ทวิ

แนววินิจฉัย

1. กรณีตาม 1 ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้บริษัทฯ คำนวณจาก

รายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุ

ไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร และค่าธรรมเนียมตาม

ข้อเท็จจริงเป็นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ถือ

เป็นรายจ่ายเพื่อการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการประกอบกิจการ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี

(13) แห่งประมวลรัษฎากร และโดยที่บริษัทฯ ได้จ่ายค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดในขณะ

นั้น (กฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2539)ถือว่าเป็นกรณีที่บริษัทฯ จ่ายไปจริง จึงลงเป็นรายจ่ายใน

รอบระยะเวลาบัญชีปี 2540 ได้ทั้งจำนวน (800,000 บาท) การปฏิบัติของบริษัทฯ จึงถูกต้องแล้ว

2. กรณีตาม 2 เนื่องจากกฎกระทรวง ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2541) ได้ยกเลิกความในข้อ

12 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2539) โดยกำหนดอัตราและวิธีการคิดค่าธรรมเนียมขึ้นใหม่ อีก

ทั้งให้มีผลใช้บังคับย้อนหลังในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2540 ทำให้จำนวนค่าธรรมเนียมที่บริษัทฯ จะนำมา

ถือเป็นรายจ่ายได้ลดลง คงเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2540 ได้เพียง 240,000 บาท จึงให้

บริษัทฯ ปรับปรุงรายจ่ายค่าธรรมเนียมใหม่ โดยนำค่าธรรมเนียมซึ่งถือเป็นรายจ่ายใน

รอบระยะเวลาบัญชีปี 2540 สูงไปจำนวน 560,000 บาท มาบวกกลับเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชี

ปี 2541




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/01762 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)