รายจ่าย ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายค่าอากรและค่าปรับของกรมศุลกากร
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายค่าอากรและค่าปรับของกรมศุลกากรข้อเท็จจริงบริษัทฯ เป็นบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายเครื่องจักรและ อุปกรณ์ที่ใช้ตัดโลหะ รับจ้างซ่อมแซมเครื่องจักรและอุปกรณ์ชิ้นส่วนอะไหล่โดยมีการร่วมทุนกับต่างประเทศ ในการประกอบกิจการ บริษัทฯ จำเป็นต้องนำเข้าวัตถุดิบ เช่น อุปกรณ์หรืออะไหล่จากต่างประเทศ ในปี 2537 - 2540 บริษัทฯ ได้นำเข้าวัตถุดิบ โดยผู้ขายที่อยู่ต่างประเทศได้ส่งสินค้ามามากกว่ารายการที่ แสดงไว้ในเอกสารการนำเข้าเพื่อดำเนินพิธีการศุลกากร กรมศุลกากรได้ทำการตรวจสอบและประเมิน อากรที่จ่ายขาดและค่าปรับเป็นจำนวน 3,039,809 บาท บริษัทฯ หารือว่า รายจ่ายตามใบเสร็จของ กรมศุลกากรที่เรียกเก็บค่าอากรที่ชำระขาดและค่าปรับ บริษัทฯ สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายใน การคำนวณกำไรสุทธิได้ ไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (6) แห่งประมวลรัษฎากร และ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 10/2528 เรื่อง เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม และค่าปรับ ทางอาญาตามมาตรา 65 ตรี (6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2528 ถูกต้อง หรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 65 ตรี (6)แนววินิจฉัยกรณีที่บริษัทฯ นำเข้าวัตถุดิบโดยชำระค่าอากรขาดไป และกรมศุลกากรทำการประเมินอากร เพิ่มขึ้นพร้อมค่าปรับ ตามข้อเท็จจริงข้างต้นบริษัทฯ มีสิทธินำอากรที่ชำระเพิ่มและค่าปรับตามกฎหมาย ศุลกากร มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (6) แห่ง ประมวลรัษฎากร ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/1515 ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2547 |