รายจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุนในทรัพย์สิน ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการยกเว้นภาษีตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการยกเว้นภาษีตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559ข้อเท็จจริง1. บริษัทฯ เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ประกอบกิจการให้บริการเช่าพาเลตสำเร็จรูป (Pallet) 2. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 บริษัทฯ ได้ลงทุนในทรัพย์สินดังต่อไปนี้ 2.1 พาเลตสำเร็จรูป มีลักษณะทำด้วยไม้ เป็นแท่นรองรับน้ำหนักบรรจุภัณฑ์หรือสินค้าเพื่อลดความเสียหายของสินค้าจากแรงสั่นสะเทือนและแรงกระแทก และใช้รองรับสินค้าให้เป็นหน่วยใหญ่เพื่อสะดวกต่อการจัดเก็บ เคลื่อนย้าย เก็บรักษาและขนส่ง มีอายุการใช้งานโดยเฉลี่ยประมาณ 5 ปี ถึง 7 ปี 2.2 โปรแกรมคอมพิวเตอร์พร้อมติดตั้ง ซึ่งบริษัทฯ ได้แบ่งชำระเป็น 3 งวด ๆ ละ 100,000 บาท โดยงวดที่ 1 และ 2 ชำระในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2559 และสำหรับงวดที่ 3 ชำระในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2560 2.3 ต่อเติมและปรับปรุงอาคารที่เช่า ซึ่งมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าออกแบบตกแต่งภายใน ค่าก่อสร้างงานปรับปรุงภายใน ปูพื้น กั้นห้อง ทำผนัง เพดาน ประตู รวมถึงงานระบบต่าง ๆ เช่น งานระบบไฟฟ้า งานระบบปรับอากาศ งานระบบป้องกันเพลิง งานระบบสุขาภิบาล งานวางท่อโทรศัพท์ และระบบ CCTV เป็นต้น 3. บริษัทฯ ขอหารือดังนี้ 3.1 การลงทุนในทรัพย์สินประเภทพาเลตสำเร็จรูป เข้าลักษณะเป็นการลงทุนในทรัพย์สินตามมาตรา 3 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 หรือไม่ และกรณีที่ผู้เช่าทำพาเลตสูญหาย หรือกรณีที่บริษัทฯ นำพาเลตไปใช้รองสินค้า เป็นเหตุให้พาเลตนั้นถูกส่งออกไปต่างประเทศพร้อมกับสินค้า ซึ่งบริษัทฯ ได้มีการเรียกเก็บค่าพาเลตดังกล่าวจากคู่สัญญาและนำมารับรู้เป็นรายได้ของบริษัทฯ จะทำให้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 สิ้นสุดลงหรือไม่ อย่างไร 3.2 การลงทุนในทรัพย์สินประเภทโปรแกรมคอมพิวเตอร์พร้อมติดตั้งเข้าลักษณะเป็นการลงทุนในทรัพย์สินตามมาตรา 3 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 หรือไม่ และบริษัทฯ จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 ได้หรือไม่ อย่างไร 3.3 การต่อเติมและปรับปรุงอาคารที่เช่าเข้าลักษณะเป็นการลงทุนในทรัพย์สินตามมาตรา 3 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 หรือไม่ และค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงอาคารที่เช่าที่ได้จ่ายไปในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2559 ต่อเนื่องถึงรอบระยะเวลาบัญชีปี 2560 โดยบริษัทฯ ได้ทรัพย์สินนั้นมาและอยู่ในสภาพพร้อมใช้การได้ตามประสงค์ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2560 บริษัทฯ จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 ได้หรือไม่ อย่างไร 3.4 เนื่องจากบริษัทฯ ยังไม่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 สำหรับการลงทุนในทรัพย์สินประเภทพาเลตสำเร็จรูป และการปรับปรุงอาคารที่เช่าในรอบระยะเวลาบัญชีแรกที่มีสิทธิ จึงขอทราบว่าบริษัทฯ จะยังคงใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เหลือได้หรือไม่ อย่างไร กฎหมายที่เกี่ยวข้องพระราชกฤษฎีกา ฯ (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559แนววินิจฉัย1. กรณีบริษัทฯ ซื้อพาเลตสำเร็จรูประหว่างวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 มาเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของบริษัทฯ โดยพาเลตสำเร็จรูปนั้นมีลักษณะทำด้วยไม้ เป็นแท่นรองรับน้ำหนักบรรจุภัณฑ์หรือสินค้าเพื่อลดความเสียหายของสินค้าจากแรงสั่นสะเทือนและแรงกระแทก และใช้รองรับสินค้าให้เป็นหน่วยใหญ่เพื่อสะดวกต่อการจัดเก็บ เคลื่อนย้าย เก็บรักษาและขนส่ง พาเลตสำเร็จรูปดังกล่าวย่อมเข้าลักษณะเป็นทรัพย์สินประเภทเครื่องมือ เครื่องใช้ตามมาตรา 3 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 หากการลงทุนในพาเลตสำเร็จรูปดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 ประกอบกับข้อ 2 วรรคหนึ่ง ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 266)ฯ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 กล่าวคือ 1.1 เป็นทรัพย์สินที่ไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน 1.2 เป็นทรัพย์สินที่นำมาหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินได้ตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร โดยได้มาและอยู่ในสภาพพร้อมใช้การตามประสงค์ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 1.3 ไม่เป็นทรัพย์สินที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในประมวลรัษฎากร ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน 1.4 ไม่เป็นทรัพย์สินที่นำไปใช้ในกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน 1.5 ต้องเกิดจากการลงทุนที่เกิดจากสัญญา ใบสั่งซื้อหรือข้อตกลงในลักษณะทำนองเดียวกัน แล้วแต่กรณี ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 บริษัทฯ ย่อมมีสิทธินำรายจ่ายเพื่อการลงทุนในทรัพย์สินประเภทพาเลตสำเร็จรูปที่ได้จ่ายไประหว่างวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ไปใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ เป็นจำนวนร้อยละหนึ่งร้อยตามจำนวนที่จ่ายจริง โดยให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจำนวนเท่ากันของจำนวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นเป็นเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน และให้เริ่มใช้สิทธิตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินนั้น ทั้งนี้ ตามมาตรา 3 และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 ประกอบกับข้อ 3 (1) และข้อ 4 (1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 266)ฯ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 สำหรับกรณีที่บริษัทฯ ให้บุคคลภายนอกเช่าพาเลต ต่อมาผู้เช่าทำทรัพย์สินที่เช่าสูญหาย หรือกรณีที่บริษัทฯ นำพาเลตไปใช้รองสินค้า เป็นเหตุให้พาเลตนั้นถูกส่งออกไปต่างประเทศพร้อมกับสินค้า โดยบริษัทฯ ได้เรียกเก็บค่าพาเลตดังกล่าวและได้นำมารับรู้เป็นรายได้ของบริษัทฯ ทั้งสองกรณีแล้ว สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าวย่อมเป็นอันสิ้นสุดลงนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่ได้ขายพาเลตนั้น โดยบริษัทฯ ไม่ต้องนำเงินได้ที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ไปแล้วไปรวมเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิอีก ทั้งนี้ ตามมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 2. กรณีบริษัทฯ ซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นทรัพย์สินตามมาตรา 3 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 พร้อมติดตั้งระหว่างวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 โดยแบ่งชำระเงินเป็น 3 งวด ๆ ละ 100,000 บาท งวดที่ 1 และ 2 ชำระในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2559 และงวดที่ 3 ชำระในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2560 นั้น หากการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 ประกอบกับข้อ 2 วรรคหนึ่ง ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 266)ฯ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 บริษัทฯ ย่อมมีสิทธินำรายจ่ายเพื่อการลงทุนในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้จ่ายไประหว่างวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (จำนวน 200,000 บาท) ไปใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้เป็นจำนวนร้อยละหนึ่งร้อยตามจำนวนที่จ่ายจริง โดยให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจำนวนเท่ากันของจำนวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นเป็นเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน และให้เริ่มใช้สิทธิตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินนั้น ทั้งนี้ ตามมาตรา 3 และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 ประกอบกับข้อ 3 (2) และข้อ 4 (1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 266)ฯ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 สำหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายไปในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (จำนวน 100,000 บาท) นั้น หากบริษัทฯ ได้แจ้งแผนการจ่ายเงินสำหรับการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าวตามแบบแจ้งโครงการลงทุนและแผนการจ่ายเงินที่แนบท้ายประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 304)ฯ ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ต่ออธิบดีกรมสรรพากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http//www.rd.go.th ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ตามมาตรา 5 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 642) พ.ศ. 2560 ประกอบกับข้อ 7 (2) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 304)ฯ ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 แล้ว บริษัทฯ ย่อมสามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้เท่ากับรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเพื่อการลงทุนในทรัพย์สินนั้นเป็นจำนวนร้อยละห้าสิบของรายจ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริง โดยให้เฉลี่ยเป็นจำนวนเท่ากันของจำนวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นเป็นเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน และให้เริ่มใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชี ที่มีการจ่ายเงินไปจริงระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ทั้งนี้ ตามมาตรา 3 และมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 642) พ.ศ. 2560 ประกอบกับข้อ 2 (2) ข้อ 4 (2) และข้อ 5 (2) (ก) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 304)ฯ ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 3. กรณีบริษัทฯ ได้ทำการปรับปรุงและต่อเติมอาคารที่บริษัทฯ เช่ามา โดยจ่ายค่าปรับปรุงและต่อเติมอาคารไปในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2559 ต่อเนื่องถึงรอบระยะเวลาบัญชีปี 2560 นั้น เนื่องจากการปรับปรุงและต่อเติมอาคารดังกล่าวเป็นการทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินและก่อให้เกิดประโยชน์เกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี รายจ่ายที่ได้จ่ายไปเพื่อการปรับปรุงและต่อเติมอาคารย่อมถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร แต่บริษัทฯ มีสิทธินำไปหักเป็นค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้ตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับมาตรา 4 (1) หรือ (5) แล้วแต่กรณี แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 อย่างไรก็ดี เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงและต่อเติมอาคารดังกล่าว ประกอบด้วย ค่าออกแบบตกแต่งภายใน ค่าก่อสร้างงานปรับปรุงภายใน ปูพื้น กั้นห้อง ทำผนัง เพดาน ประตู รวมถึงงานระบบต่าง ๆ เช่น งานระบบไฟฟ้า งานระบบปรับอากาศ งานระบบป้องกันเพลิง งานระบบสุขาภิบาล งานวางท่อโทรศัพท์ และระบบ CCTV ดังนั้น การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 และพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 642) พ.ศ. 2560 จึงพิจารณาได้ดังนี้ 3.1 การปรับปรุงและต่อเติมในส่วนที่เป็นงานก่อสร้างภายในอาคาร เช่น การปูพื้น กั้นห้อง ทำผนัง เพดานหรือประตู เป็นต้น หากไม่เข้าลักษณะเป็นการดัดแปลงอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และบริษัทฯ ไม่ต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือแจ้งการก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ประกอบกับการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าวเกิดจากสัญญาจ้าง ใบสั่งจ้างหรือข้อตกลงในลักษณะทำนองเดียวกันที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 และบริษัทฯ ได้จ่ายเงินเพื่อการปรับปรุงและต่อเติมอาคารในส่วนที่ได้กล่าวมาตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 บริษัทฯ ย่อมมีสิทธินำรายจ่ายเพื่อการปรับปรุงและต่อเติมอาคารในส่วนดังกล่าวไปใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้เป็นจำนวนร้อยละหนึ่งร้อยตามจำนวนที่จ่ายจริง โดยให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจำนวนเท่ากันของจำนวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นเป็นเวลา 20 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน และให้เริ่มใช้สิทธิตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินนั้น ทั้งนี้ ตามมาตรา 3 (4) และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 ประกอบกับข้อ 3 (4) และข้อ 4 (1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 266)ฯ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 สำหรับค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงและต่อเติมอาคารที่ได้จ่ายไปในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2560 นั้น หากบริษัทฯ ได้แจ้งแผนการจ่ายเงินสำหรับการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าวตามแบบแจ้งโครงการลงทุนและแผนการจ่ายเงินที่แนบท้ายประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 304)ฯ ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ต่ออธิบดีกรมสรรพากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http//www.rd.go.th ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ตามมาตรา 5 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 642) พ.ศ. 2560 ประกอบกับข้อ 7 (2) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 304)ฯ ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 แล้ว บริษัทฯ ย่อมสามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้เท่ากับรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเพื่อการลงทุนในทรัพย์สินนั้นเป็นจำนวนร้อยละห้าสิบของรายจ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริง โดยให้เฉลี่ยเป็นจำนวนเท่ากันของจำนวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นเป็นเวลา 20 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน และให้เริ่มใช้สิทธิยกเว้นดังนี้ (1) กรณีอาคารนั้นได?เริ่มต?นหักค?าสึกหรอและค?าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห?งประมวลรัษฎากร มาแล?วก?อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ให?เริ่มใช?สิทธิยกเว?นตั้งแต?รอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ?ายเงินเพื่อการลงทุนตามจํานวนที่ได?จ?ายไปจริงในระหว?างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (2) กรณีอาคารนั้นยังไม?ได?เริ่มต?นหักค?าสึกหรอและค?าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห?งประมวลรัษฎากร ให?เริ่มใช?สิทธิยกเว?นตั้งแต?รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต?นหักค?าสึกหรอและค?าเสื่อมราคาของทรัพย?สินตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห?งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ตามมาตรา 3 (4) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 642) พ.ศ. 2560 ประกอบกับข้อ 3 (2) ข้อ 4 (4) และข้อ 5 (4) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 304)ฯ ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 3.2 การปรับปรุงและต่อเติมในส่วนที่เป็นงานระบบต่าง ๆ เช่น งานระบบไฟฟ้า งานระบบปรับอากาศ งานระบบป้องกันเพลิง งานระบบสุขาภิบาล งานวางท่อโทรศัพท์ และระบบ CCTV เป็นต้น ถือเป็นรายจ่ายเพื่อการลงทุนในทรัพย์สินตามมาตรา 3 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 ดังนั้น หากการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 ประกอบกับข้อ 2 วรรคหนึ่ง ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 266)ฯ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 บริษัทฯ ย่อมมีสิทธินำรายจ่ายเพื่อการลงทุนในส่วนที่เป็นงานระบบต่าง ๆ ไปใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้เป็นจำนวนร้อยละร้อยตามจำนวนที่จ่ายจริง โดยให้ยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจำนวนเท่ากันของจำนวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นเป็นเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน และให้เริ่มใช้สิทธิตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินนั้น ทั้งนี้ ตามมาตรา 3 และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 ประกอบกับข้อ 3 (1) และข้อ 4 (1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 266)ฯ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 สำหรับรายจ่ายเพื่อการปรับปรุงในส่วนที่เป็นงานระบบที่บริษัทฯ ได้จ่ายไประหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 นั้น หากบริษัทฯ ได้แจ้งแผนการจ่ายเงินสำหรับการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าวตามแบบแจ้งโครงการลงทุนและแผนการจ่ายเงินที่แนบท้ายประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 304)ฯ ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ต่ออธิบดีกรมสรรพากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http//www.rd.go.th ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ตามมาตรา 5 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 642) พ.ศ. 2560 ประกอบกับข้อ 7 (2) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 304)ฯ ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 แล้ว บริษัทฯ ย่อมสามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้เท่ากับรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเพื่อการลงทุนในทรัพย์สินนั้นเป็นจำนวนร้อยละห้าสิบของรายจ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริง โดยให้เฉลี่ยเป็นจำนวนเท่ากันของจำนวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นเป็นเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน และให้เริ่มใช้สิทธิยกเว้น ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ่ายเงินไปจริงระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ทั้งนี้ ตามมาตรา 3 และมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 642) พ.ศ. 2560 ประกอบกับข้อ 2 (2) ข้อ 4 (2) และข้อ 5 (2) (ก) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 304)ฯ ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 4. การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับทรัพย์สินแต่ละประเภทตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 ให้เริ่มใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร (เว้นแต่เป็นทรัพย์สินที่นำไปใช้ในโครงการที่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรการเร่งรัดการลงทุนของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ให้เริ่มใช้สิทธิยกเว้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีถัดจากรอบระยะเวลาบัญชีที่สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนสิ้นสุดลง) ทั้งนี้ ตามข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 266)ฯ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 โดยให้ใช้สิทธิยกเว้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นจำนวนเท่ากันตามจำนวนรอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกันตามที่กำหนดไว้ในข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าว ดังนั้น หากบริษัทฯ เลือกที่จะไม่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับการลงทุนในทรัพย์สินข้างต้นในรอบระยะเวลาบัญชีแรกที่มีสิทธิ บริษัทฯ ยังสามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เหลือได้ ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ 0702/6283 ลงวันที่ 09 สิงหาคม 2561 |