Skip to Content

รายจ่ายต้องห้าม ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน


ข้อเท็จจริง

กรณีบริษัท ส. มีรายจ่ายค่าออกแบบอาคารอพาร์ตเม้นท์ตามโครงการ ก่อสร้างอพาร์ตเม้นท์

ในที่ดินที่บริษัทฯ เช่ามาจากบริษัท ศ. บริษัทฯ ได้จ่ายค่าออกแบบอาคารดังกล่าวไประหว่างปี 2537 -

2539 แต่เนื่องจากเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี 2540 บริษัทฯ ยังมิได้ลงมือก่อสร้างจึงชะลอ

โครงการไว้ก่อนเพื่อรอดูสถานการณ์ ปรากฏว่าวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจรุนแรงมาก จนบัดนี้เวลาได้

ล่วงเลยมาหลายปีสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น และยังประเมินไม่ได้ว่าธุรกิจอพาร์ตเม้นท์จะสามารถฟื้นตัวและ

เริ่มดำเนินการได้อีกเมื่อใด ตลอดจนไม่มีสถาบันการเงินแห่งใดให้กู้ยืมเงินเพื่อทำโครงการดังกล่าว

นอกจากนี้ใบอนุญาตก่อสร้างที่บริษัทฯ ได้รับอนุมัติให้ต่ออายุจากกรุงเทพมหานครได้หมดอายุลงแล้ว และ

บริษัทฯ ไม่สามารถต่ออายุได้อีกตามกฎเกณฑ์ของกรุงเทพมหานคร และประการสำคัญ ผู้ให้เช่าที่ดินได้

บอกเลิกการให้เช่าเพราะผู้เช่าไม่ได้ก่อสร้างอาคารตามระยะเวลาที่กำหนด ดังนั้น บริษัทฯ จึงจำเป็น

ต้องยกเลิกโครงการก่อสร้างอพาร์ตเม้นท์ดังกล่าว บริษัทฯ จึงขออนุมัติตัดจ่ายค่าออกแบบโครงการ

อพาร์ตเม้นท์เป็นรายจ่ายของบริษัทฯ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2543


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 65 ตรี (5)

แนววินิจฉัย

รายจ่ายค่าออกแบบอาคารอพาร์ตเม้นท์ตามข้อเท็จจริง เป็นรายจ่ายเกี่ยวกับการก่อสร้าง

ทรัพย์สิน เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน ต้องห้ามมิให้นำมาหักเป็นรายจ่ายใน

การคำนวณกำไรสุทธิ ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร และบริษัทฯ จะนำรายจ่าย

ดังกล่าวมาหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาก็ไม่ได้เช่นกันเพราะการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของ

ทรัพย์สินจะเริ่มหักนับตั้งแต่วันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา และวันที่ถือว่าได้ทรัพย์สินมา หมายถึงวันที่ทรัพย์สินนั้นอยู่

ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานหรือใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งในกรณีนี้คือวันที่มีการก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จ แต่กรณี

ของบริษัทฯ ยังไม่มีการก่อสร้างอาคาร ดังนั้น บริษัทฯ ควรตั้งบัญชีไว้เป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน

แม้ในขณะนี้บริษัทฯ มีนโยบายล้มเลิกโครงการไม่มีการก่อสร้างอาคารต่อไปอีก แต่บริษัทฯ ไม่ได้

เลิกกิจการยังคงประกอบกิจการอยู่ แบบอาคารอพาร์ตเม้นท์จึงยังเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทฯ ถ้าในอนาคต

บริษัทฯ มีการดำเนินการโครงการต่อหรือกรณีบริษัทฯ ขายแบบอาคารอพาร์ตเม้นท์ดังกล่าวไป บริษัทฯ

ย่อมนำแบบอาคารดังกล่าวมาเป็นประโยชน์ได้ แต่จะนำรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนของโครงการ

ที่ตั้งบัญชีไว้มาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่ เมื่อใด ด้วยวิธีใด ย่อมขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง

ในอนาคตที่ยังไม่อาจคาดการณ์ได้




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/2627 ลงวันที่ 28 มีนาคม 2545

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)