Skip to Content

รายจ่ายต้องห้าม ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีรายจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่บริษัทจ่ายแทนกรรมการ

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีรายจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่บริษัทจ่ายแทนกรรมการ


ข้อเท็จจริง

บริษัทฯ มีเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการไม่เพียงพอ และไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารเพิ่มเติมได้อีก ที่ประชุม คณะกรรมการบริษัทฯ จึงมีมติให้กรรมการเป็นผู้กู้ยืมเงินจากธนาคารโดยนำหลักทรัพย์ส่วนตัวไปค้ำประกันเงินกู้ เพื่อนำเงิน มาให้บริษัทฯ ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนเป็นจำนวนเงิน 10 ล้านบาท โดยบริษัทฯ เป็นผู้ชำระดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่ธนาคารแทน กรรมการ บริษัทฯ จึงขอทราบว่า จะนำรายจ่ายค่าดอกเบี้ยเงินกู้ที่ชำระให้ธนาคารแทนกรรมการดังกล่าว มาเป็นรายจ่าย ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้หรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร

แนววินิจฉัย

หากบริษัทฯ มีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่า กรรมการของบริษัทฯ เป็นผู้กู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่าย ในการดำเนินกิจการของบริษัทฯ และเงินที่กู้มาจากธนาคารได้มีการนำเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามของบริษัทฯ รวมทั้ง บริษัทฯ ได้รับรองว่า เป็นการกู้ยืมเงินในนามของบริษัทฯ และบริษัทฯ เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากเงินกู้ยืมโดยตรง บริษัทฯ จึงจะมีสิทธินำดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่บริษัทฯ จ่ายแทนกรรมการมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0702/4071 ลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2551

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)