รายจ่ายต้องห้าม ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีรายจ่ายจากการจ่ายเงินตามสัญญาค้ำประกัน
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีรายจ่ายจากการจ่ายเงินตามสัญญาค้ำประกันข้อเท็จจริงบริษัท ท. ประกอบกิจการขายสินค้าประเภทเส้นใยสังเคราะห์ทั้งในและนอกราชอาณาจักร ในช่วงปี 2532 และ 2533 บริษัทฯ มีโครงการขยายกำลังการผลิตเส้นใยประดิษฐ์วิสโคสเรยอนเพื่อ การส่งออก จึงได้เปิดตลาดส่งออกใหม่ในหลาย ๆ ประเทศรวมทั้งประเทศอินเดียและประเทศ อินโดนีเซีย บริษัทฯ ได้ส่งรองประธานของบริษัทฯ คือ นาย P เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบทั้งหมดในการดำเนิน ธุรกิจและเจรจากับคู่ค้าในนามของบริษัทฯ ซึ่งในการดำเนินการใบผ่านภาษีอากร บริษัทฯ ได้ออกหนังสือ ค้ำประกันให้ไว้กับกรมสรรพากรเพื่อค้ำประกันการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรของ นาย P ต่อมา บริษัทฯ ถูกกรมสรรพากรฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลาง เพื่อให้รับผิดต่อกรมสรรพากรในฐานะ เป็นผู้ค้ำประกัน นาย P ตามหนังสือค้ำประกันฉบับลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2533 และต่อมาศาลฎีกาได้มี คำพิพากษาถึงที่สุดพิพากษาให้บริษัทฯ รับผิดค่าภาษีอากรของบริษัท อ. ซึ่ง นาย P มีหน้าที่ต้องเสียภาษี ดังกล่าวตามมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ต่อกรมสรรพากร และบริษัทฯ ได้จ่ายเงินตาม คำพิพากษาดังกล่าวให้กับกรมสรรพากรไปแล้ว บริษัทฯ จึงขอทราบว่า การจ่ายเงินค่าภาษีตาม คำพิพากษาดังกล่าว สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่ชำระให้แก่กรมสรรพากรได้ หรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 65 ตรี (13)แนววินิจฉัยกรณีบริษัทฯ ได้เข้าทำหนังสือสัญญาค้ำประกัน นาย P กับกรมสรรพากร เพื่อชำระ หนี้ภาษีอากรที่ นาย P มีหนี้ภาษีอากรค้างชำระไม่ว่าในฐานะส่วนตัวของ นาย P เอง หรือในฐานะที่ นาย P ต้องชำระแทนผู้อื่น หากบริษัทฯ ได้จ่ายชำระหนี้ภาษีดังกล่าวไปแทน นาย P ตามสัญญาค้ำประกัน รายจ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายที่มิได้เกี่ยวข้องกับกิจการของบริษัทฯ รายจ่ายดังกล่าวเข้าลักษณะเป็น รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ เป็นรายจ่ายต้องห้าม ตามมาตรา 65 ตรี(13) แห่งประมวลรัษฎากร ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/2968 ลงวันที่ 26 มีนาคม 2546 |