รายการในใบกำกับภาษี ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการโอนสิทธิการเช่า
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการโอนสิทธิการเช่าข้อเท็จจริงกรณีการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์และการให้บริการสาธารณูปโภค ดังนี้ 1. กรณีผู้เช่าทำสัญญาเช่าช่วงกับผู้เช่าช่วง ซึ่งรวมทั้งสิทธิการเช่า และการให้บริการใน สัญญาฉบับเดียวกัน โดยได้แยกจำนวนเงินค่าเช่าและค่าบริการออกจากกันเมื่อผู้เช่าช่วงจ่ายค่าเช่าและ ค่าบริการ บริษัทฯ ต้องออกใบรับและใบกำกับภาษีสำหรับค่าบริการให้กับผู้เช่า และผู้เช่าต้องออกใบรับ และใบกำกับภาษีสำหรับค่าบริการให้กับผู้เช่าช่วงอีกทอดหนึ่ง ใช่หรือไม่ 2. กรณีผู้เช่าได้ทำสัญญาเช่าช่วงและได้แจ้งต่อบริษัทฯ เพื่อให้บริการสาธารณูปโภคแก่ ผู้เช่าช่วง เมื่อผู้เช่าช่วงนำค่าเช่าและค่าบริการมาชำระ กรณีถือว่าผู้เช่าช่วงนำค่าเช่ามาชำระแทน ผู้เช่า โดยบริษัทฯ ต้องออกใบรับในนามผู้เช่า ส่วนค่าบริการที่ผู้เช่าช่วงนำมาชำระกับบริษัทฯ บริษัทฯ ต้องออกใบรับและใบกำกับภาษีสำหรับค่าบริการให้กับผู้เช่าช่วง ใช่หรือไม่ นั้น พร้อมนี้ บริษัทฯ ได้ส่งภาพถ่ายสัญญาการเช่าพื้นที่ ร้านค้า ภาพถ่ายสัญญาเช่าช่วงพื้นที่ภายใน อาคารศูนย์การค้า สัญญาสิทธิการได้ใช้บริการอุปกรณ์ระบบสาธารณูปโภคภายในอาคารโครงการ ระยะเวลา 30 ปี สัญญาให้บริการภายในอาคาร และหนังสือยินยอมให้นำสถานที่เช่าออกให้เช่าช่วง ไป เพื่อประกอบการพิจารณาด้วยแล้ว กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 86/4, มาตรา 105แนววินิจฉัยตามข้อ 1. และ 2. กรณีผู้เช่าได้ทำสัญญาเช่าช่วง กับผู้เช่าช่วง เมื่อผู้เช่าช่วงได้จ่าย ค่าเช่าเป็นรายเดือนให้แก่ผู้ให้เช่าช่วง ผู้ให้เช่าช่วงมีหน้าที่ต้องออกใบรับให้แก่ผู้เช่าช่วงในทันทีทุกคราว ที่รับเงินหรือรับชำระราคา ไม่ว่าจะมีการเรียกร้องให้ออกใบรับหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ ตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับการให้บริการสาธารณูปโภค เนื่องจากตามสัญญาให้บริการภายในอาคาร บริษัท C จำกัด (ผู้ให้บริการ) ซึ่งเป็นผู้ได้รับสิทธิในการให้บริการ ตกลงจะให้บริการแก่ผู้เช่าพื้นที่ในอาคาร โครงการเท่านั้น และประกอบกับการชำระเงินค่าบริการ เช่น ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำประปา และโทรศัพท์ ซึ่งตามสัญญาเช่าช่วง ผู้เช่าช่วงต้องชำระเงินดังกล่าวให้แก่ผู้ให้เช่าช่วงโดยตรงในแต่ละเดือนตามที่ ผู้เช่าช่วงได้ใช้ไปจริง ผู้ให้เช่าช่วงจึงมีหน้าที่ต้องออกใบรับให้แก่ผู้เช่าช่วงในทันทีทุกคราวที่รับเงินหรือ รับชำระราคาไม่ว่าจะมีการเรียกร้องให้ออกใบรับหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ ตามมาตรา 105 แห่ง ประมวลรัษฎากร เช่นเดียวกับวรรคแรก และหากผู้ให้เช่าช่วงเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ผู้ให้เช่า ช่วงมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้เช่าช่วงสำหรับการขายสินค้าหรือการบริการดังกล่าว และ ออกใบกำกับภาษีที่มีข้อความครบถ้วน ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/3174 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2544 |