ราคาตลาด ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีธุรกิจเฉพาะกรณีการคิดดอกเบี้ยเกินบัญชีวิธีพิเศษ
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีธุรกิจเฉพาะกรณีการคิดดอกเบี้ยเกินบัญชีวิธีพิเศษข้อเท็จจริงธนาคารฯ ประกอบกิจการเป็นสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ซึ่งมีการให้กู้ยืมเงิน แก่ลูกค้าประเภทต่าง ๆ รวมทั้งการให้กู้เบิกเงินเกินบัญชี ธนาคารฯ จะคิดดอกเบี้ยจากยอด เบิกเงินเกินบัญชีตามอัตราดอกเบี้ยปกติกับลูกค้าทุกประเภท เนื่องจากธนาคารฯ มีความประสงค์จะเพิ่ม ปริมาณลูกค้าเพื่อตอบสนองกับภาวะการแข่งขันในธุรกิจธนาคารพาณิชย์จึงมีความประสงค์ที่จะกำหนดวิธี จัดเก็บดอกเบี้ยสำหรับการกู้เบิกเงินเกินบัญชี (OD) สำหรับลูกค้าที่เป็นกลุ่มบริษัท เช่น กลุ่ม บริษัทในเครือเป็นระบบวิธีพิเศษแตกต่างจากลูกค้าธรรมดาอื่นโดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. กลุ่มบริษัทลูกค้าที่มีบริษัทในเครือที่ประสงค์จะขอใช้วิธีการคิดดอกเบี้ยแบบพิเศษจะต้อง แจ้งความจำนงการเข้าร่วมพูล (Pool) โดยจะต้องเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารทั้งกลุ่ม การกู้เงินในระบบพูล (Pool) นี้ ธนาคารฯ จะไม่เชื่อมโยงการโอนเงินอัตโนมัติจากบัญชีสะสมทรัพย์ (Saving Account) ไปยังกระแสรายวัน (Current Account) ลูกค้าแต่ละรายจะต้องทำรายการ โอนเงินจากบัญชีสะสมทรัพย์ไปยังบัญชีกระแสรายวันเองไม่ว่าจะเป็นการโอนเงินเพื่อชำระเงินตามเช็คที่ ตนสั่งจ่ายหรือเพื่อลดยอดเงินกู้เบิกเกินบัญชีคงเหลือ การคำนวณยอดหนี้กู้เบิกเกินบัญชีเพื่อการคิดดอกเบี้ย ธนาคารฯ จะทำการหักลบยอดเงินคงเหลือในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของบริษัทในพูล (Pool) กับ ยอดกู้เบิกเงินเกินบัญชีของพูล (Pool) ดังนี้ (1) หากยอดเงินฝากคงเหลือรวมของพูล (Pool) มีมากกว่ายอดเงินกู้เบิกเกินบัญชี ของพูล (Pool) ก็จะไม่มีการคิดดอกเบี้ยจากลูกค้า แม้ว่าบริษัทบางแห่งที่ร่วมในพูล (Pool) จะมียอด เบิกเงินเกินบัญชีก็ตามและธนาคารฯ จะไม่จ่ายดอกเบี้ยให้แก่ส่วนของยอดเงินฝากคงเหลือในพูล (Pool) ที่มากกว่ายอดเบิกเงินเกินบัญชี(เว้นแต่ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแก้ไขระเบียบว่าด้วย การจ่ายดอกเบี้ยแก่บัญชีกระแสรายวันในภายหลังแต่ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีการคิดดอกเบี้ยให้) (2) ถ้ายอดเงินกู้เบิกเกินบัญชีของพูล (Pool) มีมากกว่ายอดเงินฝากคงเหลือ ธนาคารฯ ก็จะคิดดอกเบี้ยจากส่วนเกินนี้โดยเฉลี่ยกระจายตามสัดส่วนยอดเบิกเกินบัญชีของแต่ละบริษัทใน กลุ่มที่มียอดเงินกู้เบิกเกินบัญชี 2. ระบบการคิดดอกเบี้ยวิธีนี้เป็นการพิจารณากลุ่มบริษัททั้งหลาย (Pool) เสมือนว่าเป็น ลูกค้ารายเดียวกัน การคิดดอกเบี้ยจะทำให้ (1) ช่วยลดต้นทุนธุรกิจจากดอกเบี้ยการกู้เงินเกินบัญชีของลูกค้ากลุ่มบริษัทและเป็น การเสริมสภาพคล่องในทางธุรกิจในภาวะที่ธุรกิจซบเซาเช่นปัจจุบัน (2) ส่วนธนาคารฯ จะได้ประโยชน์ในการสนองความต้องการของลูกค้าในเรื่อง ดอกเบี้ยและเพิ่มปริมาณลูกค้าโดยการหมุนเวียนของกระแสเงินฝากถอนการคงเงินฝากของลูกค้าใน บัญชีกระแสรายวันซึ่งธนาคารฯไม่มีภาระดอกเบี้ยต้องจ่ายแต่อย่างใดและ (3) การให้บริการในรูปแบบดังกล่าวเป็นการเสนอบริการ Cash Management (การบริหารเงินสด)ของลูกค้าซึ่งเป็นที่ต้องการของกลุ่มบริษัทใหญ่หรือบริษัทข้ามชาติอันเป็นส่วนหนึ่งของ การเปิดเสรีทางการเงินซึ่งประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาคนี้ด้วย ธนาคารฯ จึงหารือว่าวิธีคิดดอกเบี้ยจากยอดเงินกู้เบิกเกินบัญชีสุทธิหลังจากหักยอดเงิน ฝากคงเหลือรวมของพูล (Pool) ตามวิธีดังกล่าวข้างต้นของธนาคารฯ เป็นวิธีที่ถูกต้องหรือไม่ตาม ประมวลรัษฎากรในการเรียกเก็บดอกเบี้ย ทั้งนี้วิธีการคิดดอกเบี้ยดังกล่าวธนาคารฯ ได้รับความเห็นชอบ จากธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว ดังนั้น ในการคำนวณรายรับของธนาคารเพื่อการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีเงินได้นิติบุคคล จะคิดจากยอดดอกเบี้ยรับจริงดังกล่าวเท่านั้นถูกต้องหรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 65 ทวิ (4), มาตรา 91/16(6)แนววินิจฉัยกรณีการคิดดอกเบี้ยจากยอดเงินกู้เบิกเกินบัญชีสุทธิหลังจากหักยอดเงินฝากคงเหลือรวม ของพูล (Pool) ดังกล่าวข้างต้น ยังไม่ถือว่ามีเหตุอันสมควรตามมาตรา 65 ทวิ (4) และมาตรา 91/16(6) แห่งประมวลรัษฎากร เจ้าพนักงานจึงมีสิทธิประเมินดอกเบี้ยเงินกู้เบิกเกินบัญชีเพิ่มขึ้นตาม ยอดเงินกู้เบิกเกินบัญชีก่อนหักยอดเงินฝากคงเหลือรวมของพูล (Pool) เพื่อให้นำไปเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีธุรกิจเฉพาะเพิ่มเติมได้ ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/12881 ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2542 |