ราคาตลาด ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืม
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมข้อเท็จจริงบริษัทฯ ประกอบกิจการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยื่นจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วน บริษัทกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2541 ทุนจดทะเบียน 160,000,000 บาท โดยระบุใน สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นว่าได้ชำระค่าหุ้นเต็มมูลค่า โดยบริษัทฯ อ้างว่าสาเหตุที่ระบุว่าชำระค่าหุ้นเต็ม มูลค่า เนื่องจากกรรมการผู้ขอจดทะเบียนได้มอบหมายให้ทนายความดำเนินการจดทะเบียนให้ และได้มี การจัดทำเอกสารผิดพลาด ข้อเท็จจริงคือวันจดทะเบียนบริษัทฯ ยังไม่ได้ชำระค่าหุ้นเนื่องจากยังไม่มี บัญชีเงินฝากในนามบริษัทฯ เมื่อจดทะเบียนบริษัทเสร็จเรียบร้อยจึงได้ไปเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคาร เพื่อให้ผู้ถือหุ้นซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศโอนเงินมาชำระค่าหุ้น โดยในการชำระค่าหุ้นมีการจ่าย ภายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2541 2542 และ 2543 เป็นจำนวนเงิน 30,123,000 บาท 117,963,820 บาท และ 11,912,280 บาท ตามลำดับ ในด้านการบันทึกบัญชี บริษัทฯ ได้บันทึกบัญชี ในด้านหนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้นว่า ทุนจดทะเบียนและเรียกชำระเต็มมูลค่า 160,000,000 บาท ส่วน ด้านทรัพย์สินลงบัญชีเป็นลูกหนี้ค่าหุ้น และเมื่อได้รับชำระค่าหุ้นก็จะนำมาลดยอดหนี้ของลูกหนี้ค่าหุ้น โดย บริษัทฯ เข้าใจว่าเมื่อยังไม่ได้รับชำระค่าหุ้นและไม่มีการจ่ายเงินออกไปให้กับผู้ถือหุ้นกู้ยืม บริษัทฯ จึง ไม่มีรายได้จากการให้ผู้ถือหุ้นกู้ยืมทำให้ไม่ต้องคำนวณดอกเบี้ยรับจากลูกหนี้ค่าหุ้นเพื่อนำมาเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีธุรกิจเฉพาะนั้น ถูกต้องหรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 65 ทวิ (4), มาตรา 91/16(6)แนววินิจฉัยกรณีบริษัทฯ ได้ยื่นจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ก. โดยระบุว่าได้ชำระค่าหุ้น เต็มมูลค่าแล้ว และได้แสดงในงบดุลว่าบริษัทฯ ได้รับชำระค่าหุ้นเต็มมูลค่าหุ้นแล้ว กรณีจึงถือได้ว่าบริษัทฯ ได้ให้ผู้ถือหุ้นกู้เงิน เมื่อไม่มีการเรียกเก็บดอกเบี้ยโดยไม่มีเหตุอันควรเจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจ ประเมินดอกเบี้ยตามมาตรา 65 ทวิ (4) และมาตรา 91/16(6) แห่งประมวลรัษฎากรได้ ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/2983 ลงวันที่ 26 มีนาคม 2546 |