รับจ้างทำของ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการแยกราคาสินค้าและค่าบริการ
เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการแยกราคาสินค้าและค่าบริการข้อเท็จจริงความว่า "การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง โดยสภาพมีลักษณะเป็นการซ่อมบำรุงไม่มีกรณีซื้อ น้ำมันเครื่องไปแล้วผู้ซื้อนำไปเปลี่ยนถ่ายเอง มีเฉพาะกรณีเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องโดยใช้น้ำมันเครื่องที่ บริษัทฯ จัดเตรียมไว้ให้เนื่องจากไม่ต้องเสียค่าแรงจากการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง และ ออกใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงินเป็นค่าน้ำมันเครื่องโดยไม่รวมค่าแรง ดังนั้น รายรับที่ได้จากการ ให้บริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ต้องคิดรวมทั้งค่าน้ำมันเครื่องและค่าแรง เว้นแต่กรณีผู้รับบริการเป็นผู้ จัดหาน้ำมันเครื่องมาเอง จึงคิดเฉพาะค่าแรงเป็นค่าบริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง หากผู้จ่ายเงินได้ เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ผู้จ่ายมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 ทั้งนี้ ตามข้อ 8(2) ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2522)ฯ" กฎหมายที่เกี่ยวข้องคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ, กฎกระทรวง ฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2522)ฯแนววินิจฉัยการประกอบกิจการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งคือการเปลี่ยนถ่าย น้ำมันหล่อลื่น ตามพฤติการณ์คู่สัญญามุ่งหวังผลสำเร็จของงานที่ทำเป็นสำคัญ มิได้มุ่งให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สิน จึงถือเป็นการรับจ้างทำของตามมาตรา 587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ใช่ การซื้อขายตามมาตรา 453 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง จึงเข้าลักษณะเป็นการให้บริการรับจ้างทั้งหมด และเป็นการรักษาเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพที่ดีสามารถใช้ งานต่อไปได้ อันมีลักษณะเป็นการซ่อมบำรุงดังนั้น รายรับที่ได้จากการให้บริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ต้องคิดรวมทั้งค่าน้ำมันเครื่องและค่าแรง เว้นแต่ กรณีผู้รับบริการเป็นผู้จัดหาน้ำมันเครื่องมาเอง จึงคิด เฉพาะค่าแรงเป็นค่าบริการ หากผู้จ่ายเงินได้เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น มีหน้าที่ ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ทั้งนี้ ตามข้อ 8(2) ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่ หัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706(กม.07)/06 ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2545 |