ยึดอายัด ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการบังคับจำนองที่ดินที่จดจำนองเป็นประกันการผ่อนชำระ
เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการบังคับจำนองที่ดินที่จดจำนองเป็นประกันการผ่อนชำระข้อเท็จจริง1. กรณีผู้ค้างภาษีอากรนำทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนมาจดจำนองเป็นประกันการชำระ หนี้ภาษีอากรของตนต่อกรมสรรพากรตามระเบียบฯ ต่อมาผู้ค้างภาษีอากรผิดนัดการชำระหนี้เป็นเหตุให้ กรมสรรพากรต้องดำเนินการทางศาลเพื่อสั่งยึดทรัพย์ขายทอดตลาด หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ภาษีอากรที่ ค้างอยู่ในกรณีนี้ ผู้ค้างภาษีอากรอาจไม่ต้องรับผิดในหนี้ภาษีอากรที่ยังขาดอยู่ตามมาตรา 733 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงเห็นควรใช้อำนาจตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร ยึดทรัพย์ที่ จำนองนำออกขายทอดตลาด หรือดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้พิพากษาสั่งให้ยึดทรัพย์ซึ่งจำนองและให้ ขายทอดตลาดโดยติดภาระจำนอง หากขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ก็สามารถทำการ เร่งรัดเอากับทรัพย์สินอื่นของผู้ค้างภาษีอากรได้อีก 2. กรณีผู้ค้างภาษีอากรนำทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลอื่นมาจดจำนองเป็นประกันการ ชำระหนี้ภาษีอากรต่อกรมสรรพากรตามระเบียบฯ ต่อมาผู้ค้างภาษีอากรผิดนัดการชำระหนี้ในกรณีนี้ กรมสรรพากรต้องดำเนินการทางศาลเพื่อสั่งยึดทรัพย์ขายทอดตลาดเท่านั้น จะใช้อำนาจตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร ยึดทรัพย์ที่จำนองขายทอดตลาดไม่ได้ เนื่องจาก ทรัพย์สินดังกล่าวไม่ใช่ของผู้ค้าง ภาษีอากร กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 12แนววินิจฉัยกรณีผู้ค้างภาษีอากรนำทรัพย์สินของตนหรือของบุคคลอื่นมาจดจำนองเป็นประกันการชำระ หนี้ภาษีอากรกับกรมสรรพากรนั้น เมื่อผู้ค้างภาษีอากรผิดนัดชำระหนี้กรมสรรพากรควรพิจารณาดำเนินการ ในแต่ละกรณีดังนี้ 1. กรณีผู้ค้างภาษีอากรนำทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกมา จดจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ภาษีอากรกับกรมสรรพากรตามระเบียบฯ ต่อมาหากผู้ค้างภาษีอากร ผิดนัดการชำระหนี้ กรมสรรพากรไม่จำต้องฟ้องบังคับจำนองเสมอไป หากทรัพย์สินที่จำนองนั้นไม่พอที่จะ ชำระหนี้ กรมสรรพากรสามารถฟ้องคดีบังคับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญเพื่อยึดทรัพย์สินขายทอดตลาดได้ และหากได้เงินไม่พอชำระหนี้ ยังสามารถดำเนินการยึดทรัพย์สินอื่นของผู้ค้างภาษีอากรนำมาชำระหนี้ได้อีก 2. กรมสรรพากรมีอำนาจตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของ ผู้ค้างภาษีอากร เพื่อขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ภาษีอากร ทั้งนี้ ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะติดจำนอง หรือไม่ก็ตาม 3. กรณีผู้ค้างภาษีอากรนำทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลภายนอกมาจดจำนองเป็นประกัน การชำระหนี้ภาษีอากรกับกรมสรรพากรตามระเบียบฯ ต่อมาผู้ค้างภาษีอากรผิดนัดการชำระหนี้ กรมสรรพากรจะต้องฟ้องบังคับจำนองเอากับทรัพย์สินจำนองเท่านั้น จะใช้อำนาจตามมาตรา 12 แห่ง ประมวลรัษฎากร ยึดทรัพย์จำนองขายทอดตลาดไม่ได้ เนื่องจากทรัพย์สินดังกล่าวไม่ใช่ของผู้ค้าง ภาษีอากร ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/5214 ลงวันที่ 12 มิถุนายน 2545 |