ยึดอายัด ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีอากรค้าง กรณีการโอนสิทธิเรียกร้อง
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีอากรค้าง กรณีการโอนสิทธิเรียกร้องข้อเท็จจริงกรณีการโอนสิทธิเรียกร้อง ปรากฏรายละเอียด ดังนี้ ห้างฯ มีสถานประกอบการตั้งอยู่จังหวัดชลบุรี จังหวัดฯ ประเมินภาษีอากร ดังนี้ 1. ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีกุมภาพันธ์ มีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคม สิงหาคมกันยายน ตุลาคม ธันวาคม 2538 เป็นจำนวนเงินภาษีทั้งสิ้น 2,629,637 บาท ตามหนังสือ แจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.73.1) ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2540 ห้างฯ ได้รับหนังสือแจ้ง การประเมินฯ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2540 2. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายสำหรับปีภาษี 2538 - 2539 เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 4,977 บาท ตามหนังสือแจ้งให้นำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 30 มกราคม 2541 ห้างฯ ได้รับหนังสือแจ้งให้นำส่งภาษีฯ เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2541 3. ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2539 เป็นจำนวนเงิน 3,834,752 บาท ตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคล ลงวันที่ 30 มกราคม 2541 ห้างฯ ได้รับหนังสือแจ้งให้ชำระภาษีฯ เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2541 4. ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีมิถุนายน 2538 สิงหาคม - ธันวาคม 2539 เป็น จำนวนเงิน 1,506,424 บาท ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.73.1) ห้างฯ ได้รับ หนังสือแจ้งการประเมินฯ เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2541 5. ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีมกราคม 2540 เป็นจำนวนเงิน 470,427 บาท ตาม หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.73.1) ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2541 ห้างฯ ได้รับหนังสือ แจ้งการประเมินฯเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2541 ห้างฯ ได้ชำระภาษีอากรค้างบางส่วน ดังนี้ วันเดือนปี ที่ ชำระ ประเภทภาษี จำนวนเงินการชำระ 11 มี.ค. 2541 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย 2,271.09 นำส่งจากการอายัดสิทธิเรียกร้อง 7 เมาตราย. 2541 ภาษีเงินได้นิติบุคคล 693,205.28 "22 เมาตราย. 2541" 494,149.16 "19 พ.ค. 2541 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย 2,705.91 ผู้ค้างชำระ 16 ต.ค. 2541 ภาษีเงินได้นิติบุคคล 123,294.11 นำส่งจากการอายัดสิทธิเรียกร้อง รวมทั้งสิ้น 1,315,625.55" เพียง ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2541 ห้างฯ มีหนี้ค่าภาษีอากรค้างจำนวน 7,128,591.42 บาท (ยังไม่ รวมเงินเพิ่มตามกฎหมาย) ห้างฯ ทำสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้างถนนกับสำนักงานเทศบาล ตามสัญญาจ้างลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 เป็นจำนวนเงิน 1,300,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ห้างฯ ทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินตามหนังสือสัญญาจ้างลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 ทั้งสิ้น ให้แก่ธนาคาร ก เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2541 โดยมีเงื่อนไขสำคัญว่า "ผู้โอน สิทธิเรียกร้องขอโอนสิทธิเรียกร้องทั้งหมดที่พึงได้ตามสัญญาจากเทศบาลทุกจำนวนและทุกงวด ให้แก่ ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้อง ซึ่งห้างฯ ได้รับเครดิตจากธนาคารโดยมีวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีและเครดิตอื่น ๆ จากธนาคาร" (กรณีธนาคารออกหนังสือค้ำประกันให้แก่ห้างฯ) กรณีการโอนสิทธิเรียกร้องในเงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างของห้างฯ ให้แก่ธนาคารฯ จังหวัดฯ มิอาจขออำนาจศาลให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิเรียกร้องในค่าจ้างเหมาก่อสร้าง และหรือมิอาจใช้ อำนาจตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร อายัดสิทธิเรียกร้องในเงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างได้ และขอ ทราบว่าถูกต้องหรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 12แนววินิจฉัยกรณีตามข้อเท็จจริงแยกพิจารณาได้ ดังนี้ 1. กรณีห้างฯ ผู้ค้างภาษีอากรทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2541 เพื่อโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่าจ้างก่อสร้างถนน ตามสัญญาจ้างลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 ให้แก่ธนาคาร ก ผู้รับโอนสิทธิ เป็นกรณีห้างฯ ผู้ค้างภาษีอากรได้โอนสิทธิเรียกร้องซึ่งจะได้รับ จากลูกหนี้ (เทศบาล) ให้แก่บุคคลภายนอก (ธนาคารฯ) โดยได้มีการทำหนังสือบอกกล่าวการโอนไปยัง ลูกหนี้แล้ว การโอนสิทธิเรียกร้องนั้นจึงมีผลสมบูรณ์ ตามมาตรา 306 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิที่จะได้รับเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาจ้างดังกล่าวจึงตกเป็นของ ธนาคารฯ ผู้รับโอนและขาดจากการเป็นสิทธิหรือทรัพย์สินของห้างฯ ผู้ค้างภาษีอากร 2. กรณีที่สิทธิเรียกร้องดังกล่าวตกเป็นสิทธิของธนาคารฯ ผู้รับโอน ตามมาตรา 306 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าในขณะที่รับโอนสิทธิเรียกร้องธนาคารฯ ผู้รับโอนได้รู้ข้อเท็จจริงว่าห้างฯ มีหนี้ค่าภาษีอากรค้างชำระกรมสรรพากร การที่ห้างฯ โอนสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับชำระค่าจ้างเหมาก่อสร้างจากเทศบาลให้แก่ธนาคารฯ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของ ห้างฯ ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาค้ำประกันเพื่อเป็นการชำระหนี้บางส่วน กรณีจึงเป็นการ โอนสิทธิเรียกร้องเพื่อที่จะได้เบิกเงินเกินบัญชีต่อไป การโอนสิทธิเรียกร้องนั้นจึงถือได้ว่าเป็นการโอน โดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/03667 ลงวันที่ 22 เมษายน 2542 |