ยึดอายัด ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีธนาคารไม่ปฏิบัติตามคำสั่งอายัด
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีธนาคารไม่ปฏิบัติตามคำสั่งอายัดข้อเท็จจริงกรณีธนาคารไม่ปฏิบัติตามคำสั่งอายัด ราย บริษัท ก จำกัด สรุปข้อเท็จจริงได้ดังนี้ บริษัท ก จำกัด สำนักงานตั้งอยู่จังหวัดสงขลา ได้ค้างชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายและภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามหนังสือแจ้งการประเมิน ลงวันที่ 15 มีนาคม 2536 จำนวนเงิน 1,691,887.60 บาท และลงวันที่ 29 เมษายน 2536 จำนวนเงิน 2,425,830 บาท รวมทั้งสิ้นเป็น เงิน 4,117,717.60 บาทต่อมาบริษัทฯ ได้อุทธรณ์ขอลดเบี้ยปรับ จำนวน 2,425,830 บาท ตาม ใบแจ้งการประเมินลงวันที่ 29 เมษายน 2536 ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ (ภ.ส.7) ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2537 ให้ลดเบี้ยปรับดังกล่าวคงเรียกเก็บจำนวน 1,212,915 บาท และ บริษัทฯ ได้ชำระภาษีบางส่วน คงเหลือภาษีที่ต้องชำระทั้งสิ้น 2,853,597 บาท (ยังไม่รวมเงินเพิ่มตาม กฎหมาย) เจ้าพนักงานฯ ได้ดำเนินการเร่งรัดหนี้ภาษีอากรตามระเบียบฯ แล้ว ปรากฏว่าบริษัทฯ มี ทุนจดทะเบียน 4,000,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 40,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท มี ผู้ถือหุ้นทั้งหมด 134 คน เรียกชำระค่าหุ้นไว้แล้วเพียงร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น ดังนั้น ผู้ถือหุ้นยังคง ค้างชำระหุ้นเป็นเงิน 3,000,000 บาท และบริษัทฯ มีบัญชีเงินฝากธนาคาร จำนวน 14 บัญชี จำนวนเงินรวม 30,709,909.33 บาท ซึ่งเจ้าพนักงานได้มีคำสั่งอายัดไว้แล้ว แต่ทุกบัญชีติดภาระผูกพัน ตามเงื่อนไขสัมปทานกับกรมป่าไม้เจ้าพนักงานแจ้งให้ธนาคารนำส่งเงินภายใน 7 วัน นับแต่วันที่พ้นภาระ ผูกพันกับกรมป่าไม้ สำนักงานสรรพากรจังหวัด ได้พิจารณาแล้วเห็นควรพิจารณาดำเนินคดีล้มละลาย กับ บริษัท ก จำกัด ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 12, มาตรา 35 ทวิแนววินิจฉัยภาระผูกพันตามเงื่อนไขสัมปทานระหว่างบริษัท ก จำกัด กับ กรมป่าไม้ เป็นข้อตกลง ระหว่างคู่สัญญา ไม่ผูกพันกรมสรรพากร ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ในการอายัดสิทธิเรียกร้องของบริษัทฯ ใน บัญชีเงินฝากธนาคาร ข จำกัด สาขาหาดใหญ่ ดังนั้น ธนาคารฯ ต้องนำส่งเงินตามคำสั่งอายัดให้ กรมสรรพากร เมื่อธนาคารฯ ไม่นำส่งเงินตามคำสั่งอายัด จังหวัดฯ ต้องดำเนินการตาม ระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการอายัดทรัพย์สิน ตามความในมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2539 ข้อ 12 การคัดค้านคำสั่งอายัด กล่าวคือ ออกคำสั่งเตือนให้ธนาคารฯ ปฏิบัติตามคำสั่งอายัดอีก ครั้งหนึ่ง ถ้ายังดื้อดึงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งอายัดให้จังหวัดฯ ดำเนินคดีอาญา ตามมาตรา 35 ทวิ แห่ง ประมวลรัษฎากร และในขณะเดียวกันก็ให้ดำเนินคดีแพ่งฟ้องร้องบังคับให้ธนาคารนำส่งเงินตามคำสั่ง อายัด ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร ต่อไป ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811(กม)/452 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2542 |