Skip to Content

ยึดอายัด ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการขอใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ภาษีอากรค้าง

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการขอใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ภาษีอากรค้าง


ข้อเท็จจริง

บริษัท ก. จำกัด ค้างชำระภาษีอากร รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 42,903,847 บาท บริษัทฯ

ชำระภาษีไว้แล้วบางส่วน ปัจจุบันคงค้าง 16,050,049.60 บาท (ยังไม่รวมเงินเพิ่มตามกฎหมาย)

จากการเร่งรัดหนี้ภาษีอากรค้าง พบว่า บริษัทฯ มีสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่าก่อสร้าง

อาคารที่ทำการกรมสรรพากร ตามสัญญาจ้างก่อสร้างกรมสรรพากร จำนวน 1,435,000,000 บาท

โดยกรมสรรพากรได้ชำระแล้ว จำนวน 387,450,000 บาท คงเหลือเป็นเงิน 1,047,000,000 บาท

บริษัทฯ ได้โอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงิน จำนวน 1,047,000,000 บาท ให้แก่

ธนาคาร ข กรมสรรพากรได้มีหนังสือตอบรับการโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินกรมสรรพากรจะระงับ

การส่งมอบเงินค่าก่อสร้างอาคารดังกล่าวข้างต้น และดำเนินการหักกลบลบหนี้กับหนี้ภาษีอากรค้าง

จำนวน 16,050,049.60 บาท ตามมาตรา 341 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยแจ้งให้

บริษัทฯ ทราบได้หรือไม่


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 12

แนววินิจฉัย

1. มาตรา 308 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้บัญญัติไว้ ดังนี้

"ถ้าลูกหนี้ได้ให้ความยินยอมดังกล่าวมาในมาตรา 306 โดยมิได้อิดเอื้อน ท่านว่าจะยก

ข้อต่อสู้ที่มีต่อผู้โอนขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนนั้นหาได้ไม่

ถ้าลูกหนี้เป็นแต่ได้รับคำบอกกล่าวการโอน ท่านว่าลูกหนี้มีข้อต่อสู้ผู้โอนก่อน เวลาที่ได้

รับคำบอกกล่าวนั้นฉันใด ก็จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้แก่ผู้รับโอนได้ฉันนั้น ถ้าลูกหนี้มีสิทธิเรียกร้องจากผู้โอน แต่

สิทธินั้นยังไม่ถึงกำหนดในเวลาบอกกล่าวไซร้ ท่านว่าจะเอาสิทธิเรียกร้องนั้นมาหักกลบลบกันก็ได้ หากว่า

สิทธินั้นจะได้ถึงกำหนดไม่ช้ากว่าเวลาถึงกำหนดแห่งสิทธิเรียกร้องอันได้โอนไปนั้น"

ตามบทบัญญัติดังกล่าว สามารถแยกการพิจารณาได้เป็น 2 กรณี กล่าวคือ ตามมาตรา 308

วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บังคับใช้ในกรณีที่ ลูกหนี้ ได้ให้ความยินยอมในการ

โอนสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้โดยมิได้อิดเอื้อน ซึ่งจะมีผลให้ลูกหนี้ ไม่อาจยกข้อต่อสู้ซึ่งมีอยู่กับเจ้าหนี้

(ผู้โอน) มาใช้ยันกับบุคคลภายนอกผู้รับโอนได้ แต่สำหรับมาตรา 308 วรรคสอง แห่ง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะบังคับใช้ในกรณีที่ลูกหนี้ ได้รับคำบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องของ

เจ้าหนี้ โดยที่ลูกหนี้มิได้ยินยอมด้วยแต่อย่างใด ซึ่งจะมีผลให้ลูกหนี้มีสิทธิยกข้อต่อสู้ทุกอย่างที่ตนมีต่อเจ้าหนี้

ผู้โอนมาต่อสู้บุคคลภายนอกผู้รับโอนได้

2. ตามข้อเท็จจริงของเรื่องนี้ การที่บริษัท ก ผู้ค้างภาษีอากรได้โอนสิทธิเรียกร้องในเงิน

ค่าก่อสร้างอาคารกรมสรรพากรซึ่งจะได้รับจากกรมสรรพากรให้แก่ ธนาคาร ข โดยได้ทำหนังสือ

บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ (กรมสรรพากร) แล้ว การโอนสิทธิเรียกร้องนั้นจึงมีผลสมบูรณ์ ตาม

มาตรา 306 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิที่จะได้รับเงินค่าก่อสร้างอาคารกรมสรรพากรจึง

ตกเป็นของธนาคาร ข ผู้รับโอนและขาดจากการเป็นสิทธิหรือทรัพย์สินของบริษัท ก. ผู้ค้างภาษีอากร

และการที่กรมสรรพากรได้ให้ความยินยอมด้วยใน การโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเป็นหนังสือ โดยได้

สงวนสิทธิเฉพาะการหักเงินต่าง ๆ ที่บริษัทก. ต้องจ่ายตามที่ระบุในสัญญา และการหักภาษี ณ ที่จ่าย

ตามประมวลรัษฎากร โดยมิได้โต้แย้งสิทธิในหนี้ภาษีอากรค้างซึ่งมีอยู่กับบริษัท ก. ผู้โอนต่อธนาคาร ข

ผู้รับโอน จึงเป็นการให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องโดยมิได้อิดเอื้อน ดังนั้น ผลของการ

โอนสิทธิเรียกร้องจึงต้องบังคับตามมาตรา 308 วรรคหนึ่ง มิใช่มาตรา 308 วรรคสอง แห่ง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กล่าวคือ กรมสรรพากรไม่อาจยกข้อต่อสู้ในหนี้ภาษีอากรซึ่งมีอยู่กับผู้โอน

มาใช้ยันกับธนาคาร ข ผู้รับโอนได้ และไม่อาจใช้สิทธิของเจ้าหนี้เพื่อขอหักกลบลบหนี้ภาษีอากรค้าง ได้

แต่อย่างใด




ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/15120 ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2541

Get notified when new articles are added to the knowledge base.

Powered by PHPKB (Knowledge Base Software)