ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเอกสิทธิ์ของผู้เชี่ยวชาญ
เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเอกสิทธิ์ของผู้เชี่ยวชาญข้อเท็จจริงFisheries Agency, Ministry of Agriculture,Forestry and Fisheries,Government of Japan ได้มอบหมายให้ Mr. A สัญชาติญี่ปุ่นเข้ามาปฏิบัติงานชั่วคราวในตำแหน่ง Senior Expert และ Technical Coordinator ประจำที่สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาการประมงฯ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นระยะเวลา 2 ปี โดยในระหว่างที่เข้ามาปฏิบัติงานดังกล่าว Mr. A ได้รับค่าจ้างจากรัฐบาลญี่ปุ่น ศูนย์พัฒนาการประมงฯ ได้หารือว่า Mr. A ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินค่าจ้าง เงินเพิ่ม และเงินได้ต่างๆ ที่ได้รับจากประเทศญี่ปุ่น ตามความในหนังสือแลกเปลี่ยนระหว่างรัฐบาลไทยกับศูนย์พัฒนาการประมงฯ ฉบับลงวันที่ 3 สิงหาคม 2513 และตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2499 หรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2499แนววินิจฉัยตามข้อ 4 ของหนังสือแลกเปลี่ยนระหว่างรัฐบาลไทยกับศูนย์พัฒนาการประมงฯ ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2513 ระบุให้ เอกสิทธิ์และการอำนวยความสะดวกแก่หัวหน้า รองหัวหน้า และเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ของสำนักงานฝ่ายฝึกอบรมของศูนย์พัฒนาการประมงฯ เท่ากับผู้เชี่ยวชาญที่เข้ามาปฏิบัติงานในประเทศไทยภายใต้แผนการโคลัมโบ และตามคำแปลหนังสือแลกเปลี่ยนระหว่าง ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ ฯพณฯ เอกอัครราชทูตอังกฤษ เรื่อง การยกเว้นภาษีอากรให้ ผู้เชี่ยวชาญตามแผนโคลัมโบ ลงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2505 ซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลอังกฤษ ระบุให้โครงการร่วมมือทางวิชาการแห่งแผนการโคลัมโบ ได้รับยกเว้นการจดทะเบียนคนต่างด้าว ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินเดือน เงินเพิ่ม และเงินได้ต่างๆ ที่ได้รับจากประเทศของตนและภาษีศุลกากร สำหรับการนำเข้าสิ่งของส่วนตัวและของใช้ในบ้านเรือน ภายใน 3 เดือน นับแต่เดินทางมารับหน้าที่ครั้งแรก ดังนั้น Mr. A ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญจึงได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ซึ่ง เป็นค่าจ้าง เงินเพิ่ม และเงินได้ต่างๆ ที่ได้รับจากประเทศตน ตามหนังสือแลกเปลี่ยนดังกล่าว ทั้งนี้ ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2499 ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0702/4465 ลงวันที่ 05 มิถุนายน 2552 |