ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการเสียภาษีเงินได้
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการเสียภาษีเงินได้ข้อเท็จจริงกรณีบริษัท ม. มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ต่างประเทศประกอบกิจการให้บริการขนส่งสินค้าและ คนโดยสารระหว่างประเทศทางอากาศยาน บริษัทฯ ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามแบบ ภ.ง.ด.52 เป็นประจำทุกรอบระยะเวลาบัญชี โดยแสดงรายได้จากการประกอบกิจการขนส่งระหว่าง ประเทศโดยอากาศยาน แต่ไม่มีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยแจ้งในแบบแสดงรายการว่า บริษัทฯ ได้ รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการ ยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 139) พ.ศ. 2526 ถูกต้องหรือไม่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500แนววินิจฉัยบริษัทฯ ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศประกอบกิจการขนส่งผ่านประเทศต่างๆ รวมทั้ง ประเทศไทยมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร แต่เนื่องจาก ประเทศที่บริษัท A ตั้งอยู่นั้นได้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้จากการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ ให้แก่บริษัทสายการบิน B ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลไทยที่ประกอบกิจการขนส่งระหว่างประเทศไว้ ก่อน พ.ศ. 2527 บริษัทฯ จึงได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการประกอบกิจการขนส่งระหว่าง ประเทศ ทั้งนี้ ตามมาตรา 5 จัตวา แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 139) พ.ศ. 2526 ที่มา:หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/11002 ลงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2546 |